7.3.56

การซื้อขายคาร์บอนเครดิตของชาวสวนยาง

คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit)
คาร์บอนเครดิตคืออะไร
        คาร์บอนเครดิต หมายถึง สิ่งทดแทนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ จากการกระทำของมนุษย์ เช่น ภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม ฯลฯ โดยประเทศที่อยู่ในกลุ่ม Annex l ไม่สามารถทำการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศของตนเองได้แล้ว ทำให้จะต้องมีการสร้างความร่วมมือกับประเทศกลุ่ม Non-Annex l  โดยผ่านกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean  Development  Mechanism หรือ CDM) เพื่อให้นำมาซึ่ง Certified  Emission  Reduction หรือ CERs เพื่อใช้เป็นคาร์บอนเครดิตของตนเองทำให้มีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ  ดังนั้นจากพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocal) กำหนดให้ประเทศพัฒนาแล้วต้องลดประมาณการปล่อยก๊าซที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก หรือกรีนเฮ้าส์เอฟเฟคท์ ซึ่งทำให้เกิดภาวะโลกร้อน เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ ฯลฯ พิธีสารเกียวโตมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่16 กุมภาพันธ์ 2549 หากประเทศที่ลงนาม เช่น สหภาพยุโรป แคนาดา ญี่ปุ่น ไม่สามารถลดก๊าซเรือนกระจกประมาณ 5.2% ในปี 2551-2555begin_of_the_skype_highlighting            2551-2555      end_of_the_skype_highlighting จะมีค่าปรับถึงตันละ 2,000-5,000 บาท 

ประเทศไทยกับคาร์บอนเครดิต
      ปัจจุบันประเทศไทยมีองค์กรมหาชน เรียกว่า   องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก(องค์กรมหาชน) พ.ศ. 2550 (Thailand  Greenhouse Gas Management  Organization หรือ TGO) มีชื่อย่อว่า อบก. โดยมีกฎหมายรองรับองค์กรดังกล่าวแล้ว และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2550 ที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการวิเคราะห์ กลั่นกรองและทำความสะอาด (Clean Development Mechanism หรือ CDM) รวมทั้งติดตามประเมินผลโครงการที่ได้รับคำรับรอง รวมถึงเป็นศูนย์กลางข้อมูลการดำเนินงานและให้การสันบสนุนการดำเนินงานและให้การสนับสนุนด้านก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนให้คำแนะนำแก่ภาครัฐ และเอกชนเกี่ยวกับการจัดการก๊าซเรือนกระจก
การซื้อขายคาร์บอนเครดิต
    "การซื้อขายคาร์บอนเครดิต" จึงเป็นหนึ่งในแนวทางที่กำหนดออกมาพิเศษ เพื่อช่วยให้ประเทศตัวการปล่อยก๊าซพิษไม่ต้องถูกลงโทษ ดังนั้น "คาร์บอนเครดิต" ซึ่งเป็นสิ่งทดแทนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาผลาญน้ำมันดิบในโรงงานอุตสาหกรรมหรือยานยนต์ หากประเทศพัฒนาแล้วไม่สามารถลดมลพิษของตนได้อีกต่อไป ก็ต้องใช้วิธีช่วยเหลือประเทศด้อยพัฒนาให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเมื่อลดได้จะกลายเป็นคาร์บอนเครดิตของตนเอง ทำให้ไม่ต้องจ่ายค่าปรับเช่น การปลูกป่าไม้ 2.5 ไร่ จะสามารถเก็บคาร์บอนเครดิตได้ 2 ตัน การใช้พลังงานแสงอาทิตย์แทนน้ำมัน 1 หน่วยจะได้เครดิตประมาณ 0.6 กิโลกรัม

     ตัวอย่างเช่นประเทศ A อยู่ในยุโรป ถูกกำหนดให้ลดก๊าซเรือนกระจก 50 ล้านตัน แต่โรงงานอุตสาหกรรมหรือโครงการที่มีในประเทศ A พยายามลดสุดๆแล้ว ลดได้เพียง 30 ล้านตัน จึงต้องไปซื้อคาร์บอนเครดิตจากประเทศกำลังพัฒนามาอีก 20 ล้านตัน ไม่เช่นนั้นจะโดนปรับ ตันละ 3,000 บาทก็ประมาณ 6 หมื่นล้านบาท

   ประเทศ ก จึงติดต่อไปที่ ฟาร์มเลี้ยงหมูขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในประเทศ ข เพื่อช่วยสร้างโรงไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ เมื่อสร้างเสร็จทำให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าฟาร์มหมูลดลงเดือนละ 2 ล้านบาท ถือเป็นการลดจำนวนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม สมมติว่าลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ปีละ 1 ล้านตัน จำนวนที่ลดได้ จะถูกเรียกว่า "คาร์บอนเครดิต" ซึ่งประเทศ A จะได้คาร์บอนเครดิต 1 ล้านตันไปรวมกับ 30 ล้านตันที่มีอยู่ หรือในอนาคตฟาร์มหมูที่อยู่ใกล้เคียงอาจใช้เทคโนโลยีเดียวกัน มาลงทุนสร้างโรงงานไฟฟ้าก๊าซชีวภาพเอง แล้วขายคาร์บอนเครดิตให้ประเทศ A ก็ได้

   ทั้งนี้หน่วยงานหรือบริษัทที่จะซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตได้ ต้องผ่านมาตรฐานตาม "โครงการซีดีเอ็ม" หรือโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด(Clean Development Mechanism หรือ CDM Project-Carbon Credit) และในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้มีมติอนุมัติการขึ้นทะเบียน 3 โครงการแรกของไทย เพื่อให้สามารถขายคาร์บอนเครดิตตามข้อตกลงได้ คือ

1.โรงไฟฟ้าด่านช้างไบโอเอนเนอร์ยี่

2.โครงการโรงไฟฟ้าพลังแกลบ ของบริษัท เอ.ที.ไบโอเพาเวอร์ จำกัด

3.โครงการไบโอแมสของโรงไฟฟ้าขอนแก่น

    สำหรับโรงไฟฟ้าขอนแก่นที่นำชานอ้อยมาเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้านั้น มีการประเมินว่าจะสามารถลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 5.7 หมื่นตันต่อปี หากนำคาร์บอนเครดิตมาซื้อขายจะได้ประมาณ 21 ล้านบาท

    ล่าสุดมีอีก45 บริษัทที่เสนอขอเข้าโครงการซีดีเอ็ม เพราะราคาซื้อขายคาร์บอนเครดิตได้ถีบตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนถึงระดับ 7 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันแล้ว โครงการส่วนใหญ่ร้อยละ 50 จะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ (ไบโอแก๊ส) เช่น การผลิตก๊าซจากน้ำเสีย อันดับ 2 คือด้านเทคโนโลยีชีวมวล (ไบโอแมส) ร้อยละ 25 ส่วนที่เหลือเป็นโครงการประหยัดพลังงานไฟฟ้า โครงการแปลงขยะชุมชนเป็นพลังงาน ด้านคมนาคมขนส่ง ฯลฯ

   "คาร์บอนเครดิต" กำลังกลายเป็นธุรกิจซื้อขายมลพิษ ที่มีแนวโน้มทำเงินมหาศาลในอนาคต รัฐบาลปัจจุบันจึงออกพระราชกฤษฎีกา "จัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2550" มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ที่ผ่านมา หรือที่เรียกย่อว่า อบก.หรือ "TGO" (Thailand Greenhouse Gas Management Organization)

  การจัดตั้งอบก.มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมพัฒนาโครงการและตลาดซื้อขายปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรอง รวมถึงเป็นศูนย์กลางข้อมูลดำเนินงานและให้ทุนสนับสนุนการดำเนินงานด้านก๊าซเรือนกระจก

  แม้การซื้อขายคาร์บอนเครดิตจะมีข้อดีคือทำให้ประเทศพัฒนาไม่ต้องเจอค่าปรับจากพิธีสารเกียวโต ขณะที่ประเทศด้อยพัฒนาก็ได้รับการสนับสนุนให้ใช้เทคโนโลยีสะอาด เพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อน

  แต่มีนักวิชาการกลุ่มหนึ่งออกมาเตือนว่าหากประเทศกำลังพัฒนา เช่น ไทย ลาว เวียดนาม นำคาร์บอนเครดิตมาขายจนหมดสิ้น จะกลายเป็นภาระผูกพันถึงอนาคต หากมีข้อตกลงใหม่ที่กำหนดให้ประเทศด้อยพัฒนาต้องช่วยลดก๊าซเรือนกระจกด้วย ประเทศเหล่านี้ก็จะไม่มีคาร์บอนเครดิตเหลือ เพราะขายล่วงหน้าไปหมดแล้ว

  ศ.ดร.สุรพงศ์จิระรัตนานนท์ บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานกล่าวแนะนำว่า ไทยควรมีการเก็บคาร์บอนเครดิตไว้บ้าง เพราะอีก 10 ปีข้างหน้า อาจต้องถูกบังคับให้ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกเช่นกัน เมื่อถึงเวลานั้นอาจไม่มีคาร์บอนเครดิตเหลือ เพราะขายล่วงหน้าให้ประเทศอื่นหมดแล้ว ราคาที่ขายได้ก็ต่ำกว่าจำนวนที่กำหนดให้จ่ายค่าปรับหลายเท่า ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องประเมินสถานการณ์ในอนาคตเผื่อไว้ด้วย นอกจากนี้ควรมีการลดการใช้พลังงานด้านอื่นพร้อมกัน เนื่องจากภาคธุรกิจไทยมีการใช้พลังงานไฟฟ้าสิ้นเปลืองอย่างมาก

  ศ.ดร.สุรพงศ์ยกตัวอย่างตึกขนาดใหญ่แห่งหนึ่งย่านถนนรัชดาภิเษกว่า มีการใช้พลังงานไฟฟ้าเทียบเท่ากับเมืองเวียงจันทน์ เมืองหลวงของลาว เพราะต้องเปิดไฟและแอร์ตลอดทั้งวัน หน่วยงานรัฐควรใช้นโยบายเหมือนเกาหลีใต้ ที่ออกกฎข้อบังคับให้สถานที่ราชการเปิดเครื่องปรับอากาศไว้ที่อุณหภูมิ 26 องศา ส่วนที่มาเลเซียก็พยายามสร้างอาคารแบบใหม่ที่ประหยัดพลังงานจากเดิม 3-5 เท่า โดยการประหยัดพลังงานไฟฟ้าส่วนนี้อาจนำมาเป็นคาร์บอนเครดิตขายในอนาคตได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น