23.6.54

วิธีปลูกยางภาคอีสาน

หลักการพิจารณาพื้นที่ปลูกยาง
ดินและภูมิอากาศเป็นปัจจัยหลัก โดยเฉพาะสภาพพื้นที่ ต้องเป็นพื้นที่ราบ แต่ถ้าเป็นพื้นที่ลาดชันก็ไม่ควรเกิน 35 องศาถ้าความลาดชันเกิน 15 องศา จำเป็นต้องทำขั้นบันไดเพื่อป้องกันต้นยางโค่นล้มได้ง่ายด้วยแรงลม พื้นที่ควรมีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 600 เมตร เพราะถ้าสูงเกิน จะทำให้การเจริญเติบโตลดลง นอกจากนี้ ควรมีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร มีการระบายน้ำดี ไม่มีชั้นหินหรือชั้นดินดาน ระดับน้ำใต้ดินควรต่ำกว่าระดับผิวดินมากกว่า 1 เมตร ดินเป็นดินร่วนเหนียวถึงดินร่วนทราย และมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ระหว่าง 4.5-5.5 นอกจากนี้ ควรมีปริมาณน้ำฝนเพียงพอไม่น้อยกว่า 1,250 มิลลิเมตร ต่อปี และมีจำนวนวันฝนตกไม่น้อยกว่า 120-150 วัน ต่อปี

พื้นที่ที่ไม่เหมาะสมปลูกยาง 
เช่น ในพื้นที่นาข้าว พื้นที่ลุ่มน้ำขัง พื้นที่ที่เป็นดินเค็ม ดินด่าง ดินปลวก และดินที่มีหินกรวดอัดแน่น หรือเป็นแผ่นหินแข็ง ทำให้ต้นแคระแกร็นไม่เจริญเติบโต ต้นเล็กไม่ได้ขนาดเปิดกรีดเมื่ออายุ 7 ปี ทำให้ได้ผลผลิตต่ำ นอกจากนี้ รากแขนงของต้นยางยังไม่สามารถใช้น้ำในฤดูแล้ง ยิ่งถ้าช่วงแล้งยาวนานก็จะทำให้ต้นยางตายจากยอดได้ง่าย
การแก้ไข 
เกษตรกรก็สามารถทำได้ด้วยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดิน เพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน ทำให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี และช่วยรักษาความชื้นในดิน การใช้วัสดุคลุมดินรอบโคนต้นยาง การใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางด้วยปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ก็จะทำให้ต้นยาง สมบูรณ์แข็งแรงยิ่งขึ้น หรือแม้กระทั่งการขุดคูระบายน้ำให้มีความลึกมากกว่า 2 เมตร จากระดับผิวดิน ในกรณีดินมีน้ำท่วมขัง การช่วยบำรุงต้นยางเพิ่มขึ้นโดยวิธีต่างๆ เหล่านี้ จะช่วยให้ต้นยางเจริญเติบโตได้ดี แต่มีค่าใช้จ่ายมากขึ้นด้วยเช่นกัน
การเตรียมพื้นที่ปลูกยางพารา
โดยการไถพลิกและไถพรวน อย่างน้อย 2 ครั้ง พร้อมเก็บตอไม้ เศษไม้ และเศษวัชพืชออกให้หมด เพื่อปรับสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมต่อการปลูกยางทั้งในด้านการปฏิบัติงานและการ อนุรักษ์ดินและน้ำ และเพื่อสะดวกในการเข้าไปดูแลบำรุงรักษา และเก็บเกี่ยวผลผลิตน้ำยาง
วางแนวปลูกต้นยางพารา
กำหนดแถว หลักของต้นยางโดยให้วางขวางทางการไหลของน้ำ เพื่อลดการชะล้างหน้าดินและการพังทลายของดิน ให้แถวหลักห่างจากเขตสวนเก่า ไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร พร้อมขุดคูตามแนวเขตสวน เพื่อป้องกันโรครากยางและการแย่งธาตุอาหาร จากนั้นวางแนวปลูกด้วยการปักไม้ชะมบตามระยะปลูก สำหรับพื้นที่ลาดเทมากกว่า 15 องศา ให้วางแนวปลูกตามแนวระดับและทำขั้นบันได ควรทำให้เสร็จสิ้นก่อนฤดูฝน (มีนาคม-ต้นเมษายน)
ระยะปลูกต้นยางพารา
ถ้า เป็นพื้นที่ราบในเขตปลูกยางเดิมภาคใต้ ใช้ระยะปลูก 2.5x 8 เมตร หรือ 3×7 เมตร จะปลูกยางได้ 80 ต้น หรือ 76 ต้น ต่อไร่ ตามลำดับ ส่วนพื้นที่ราบในเขตปลูกยางใหม่ ใช้ระยะปลูก 2.5×7 เมตร หรือ 3×6 เมตร หรือ 3×7 เมตร มีจำนวนต้นยาง 91 ต้น หรือ 88 ต้น หรือ 76 ต้น ต่อไร่
ขนาด ของหลุม ขุดหลุมให้มีขนาด 50x50x50 เซนติเมตร โดยขุดดินด้านใดด้านหนึ่งของไม้ชะมบไปในทางเดียวกัน ไม่ต้องถอนไม้ออก แยกดินส่วนบนและส่วนล่างไว้คนละกอง ผึ่งแดดประมาณ 1 สัปดาห์ พอดินแห้งย่อยดินให้ละเอียด นำดินส่วนบนใส่ก้นหลุม ส่วนดินชั้นล่างผสมกับปุ๋ยหินฟอสเฟต อัตรา 170 กรัม คลุกเคล้าร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ประมาณ 3-5 กิโลกรัม ต่อหลุม ใส่ด้านบน
การปลูกด้วยต้นยางชำถุง   เป็นวิธีที่ปลูกได้ผลสูงกว่า วิธีการปลูกด้วยต้นตอตา ยาง หรือติดตายางในแปลง เนื่องจากการปลูกยางในพื้นที่แหล่งใหม่มีปริมาณน้ำฝนและจำนวนวันฝนตกน้อย กว่าในเขตปลูกยางเดิมในภาคใต้ การปลูกด้วยต้นยางชำถุง ทำให้ต้นยางเจริญเติบโตสม่ำเสมอ ลดเวลาการดูแลรักษาต้นยางอ่อนให้สั้นลง ทำให้กรีดได้เร็วขึ้น เมื่อเลือกต้นยางชำถุงได้แล้ว ในกรณีที่มีการขนส่งควรระวังอย่าให้ดินในถุงแตกและให้หันลำต้นไปในทิศทาง เดียวกัน เพื่อป้องกันการกระทบกระแทกกัน หลังการขนส่งให้ตัดรากที่ม้วนเป็นก้อนอยู่ก้นถุงหรือที่ทะลุถุงออก นำมาวางเรียง 2-3 แถว ในแถวเดียวกัน โดยให้หันลำต้นไปในทางเดียวกัน เพื่อให้ต้นยางมีโอกาสพักปรับตัว ประมาณ 1 สัปดาห์ จึงย้ายลงปลูก โดยหันแผ่นตาไปทางทิศเหนือ-ใต้ ให้รอยต่อระหว่างรากกับตาอยู่ระดับปากหลุม จากนั้นใช้มีดเฉือนก้นถุงออก ประมาณ 2-3 เซนติเมตร นำไปวางในหลุมที่ขุดเตรียมไว้ จากนั้นใช้มีดกรีดข้างถุงให้ขาดออกจากกันทั้ง 2 ด้าน แต่อย่าเพิ่งดึงถุงออก เพราะจะทำให้ดินในถุงแตก จากนั้นจึงกลบดินประมาณครึ่งหลุม โดยนำดินชั้นบนใส่ก้นหลุม ส่วนดินชั้นล่างที่ผสมกับปุ๋ยหินฟอสเฟต อัตรา 170 กรัม คลุกเคล้าร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ประมาณ 3-5 กิโลกรัม ต่อหลุม ให้ใส่ไว้ด้านบน จากนั้นจึงดึงถุงออก กลบดินจนเสมอปากหลุม เหยียบดินรอบๆ ต้นยางให้แน่น โดยพูนดินโคนต้นยางให้สูงเล็กน้อยเพื่อป้องกันน้ำขังในหลุม เสร็จแล้วใช้เศษพืชคลุมบริเวณโคนต้นยางให้มีรัศมี 50-80 เซนติเมตร โดยให้ห่างจากต้นยาง 5-10 เซนติเมตร เพื่อรักษาความชื้นในดิน

17.6.54

RRIM600 กับ ยางclone ซีรีย์2000



  1. ท่านทราบหรือไม่ว่า RRIM600ต้นกำเนิดจากที่ใด?.......ประเทศมาเลเซีย อายุ 71 ปีแล้ว
  2. RRIM ย่อมาจาก?......Rubber Research Institute of Malaysia    สถาบันวิจัยยางของมาเลเซีย
  3. ทำไมพันธุ์ยางRRIM600ผลผลิตภาคใต้น้อยกว่า600ทีปลูกในอีสาน?.....ภาคใต้ฝนตกชุก จำนวนวันกรีดน้อย
  4. ทำไมบางคนเลือกปลูกยาง 600 ?..ขายไม้ได้ราคาดี  คำแนะนำจากนักวิชาการ ปลูกได้ทุกที่  ยางตายนึ่งน้อย  ทนการกรีดถี่  ราคาถูก  เกิดโรคใบร่วง ราแป้ง ออยเดียม ง่าย
  5. ทำไมเลือกปลูกยางซีรีย์2000, 3000?.... ผลผลิตสูง โตเร็ว กรีดได้เร็ว ผลตอบแทนเร็ว มีข้อมูลเชิงลึก คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป
  6. ยางซีรีย์2000 ?....RRIM2025 RRIM2027 RRIM3001 PB350 ยางมาเลย์ที่พัฒนาขึ้น คือให้น้ำยางมาก โตเร็ว ต้านทานโรคไฟท๊อปดี เปิดกรีดได้เร็ว
  7. ภาคอีสานปลูกRRIM600ได้ แล้วทำไมจึงปลูกRRIM2025 2027 3001 PB350 ไม่ได้ ซึ่้งพันธุุ์ยางทั้งหมดนี้เป็นสายพันธุ์พัฒนาที่มาเลย์ที่เดียวกัน
  8. ถูกต้องที่สภาพพื้นที่ ภูมิอากาศ  ภูมิประเทศที่มาเลย์กับภาคอีสาน ภาคเหนือ แตกต่างกัน แต่ก็มีเทคนิคในการดูแลรักษาให้เจริญเติบโตได้
  9. ทำไมต้องพัฒนาพันธุ์ยาง?....การปรับปรุงพันธุ์ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูง โตเร็ว ต้านทานโรคต่างๆได้ดีขึ้น ให้ผลตอบแทนเร็ว  ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายจากที่บำรุงรักษา7ปีกรีด ก็เหลือแค่ 4-5 ปีกรีดส่งผลให้เจ้าของสวนยางมีรายได้เพิ่มขึ้นและเร็วขึ้นด้วย
  10. สนใจสอบถามข้อมูลพันธุ์ยาง  จำหน่ายกล้ายางซีรีย์2000  ติดต่อ k.วิท 080-8740729 

11.6.54

ธาตุอาหารหลักยางพารา

  • ธาตุไนโตรเจน  เป็นธาตุที่สำคัญมากในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นยางพาราในระยะก่อนให้ผลผลิต และในระยะที่ต้นยางพาราให้ผลผลิตน้ำยางแล้ว ธาตุไนโตรเจนทำให้ผลผลิตน้ำยางเพิ่มมากขึ้น ธาตุไนโตรเจนจึงเป็นธาตุอาหารที่ต้นยางพาราต้องการตลอดชีวิต ปุ๋ยที่เหมาะสำหรับยางพาราจึงมักเป็นปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูง เช่น 20-8-20, 25-7-7 หรือ 29-5-18
  • ธาตุฟอสฟอรัส  จะทำให้ระบบรากของพืชและต้นยางพาราในระยะแรก ๆ แข็งแรงแพร่กระจายไปในดินอย่างกว้างขวาง ซึ่งก็จะทำให้สามารถดูดน้ำและธาตุอาหารพืชได้ดี สำหรับพืชอื่น  ธาตุฟอสฟอรัส จะช่วยในการออกดอกและติดผลดีขึ้น เร็วขึ้น
  • ธาตุโพแทสเซียม  มีความสำคัญในการสร้างและการเคลื่อนย้ายอาหารพวกแป้งและน้ำตาลไปเลี้ยงส่วนที่กำลังเติบโต และส่งไปเก็บไว้เป็นเสบียงที่หัวของพืชหรือที่ลำต้น สำหรับต้นยางพาราในระยะเปิดกรีดหรือระยะให้ผลผลิต ธาตุโพแทสเซียมทำให้ผลผลิตน้ำยางเพิ่มมากขึ้ ปุ๋ยที่เหมาะสำหรับต้นยางพาราระยะนี้ คือปุ๋ยที่มีธาตุโพแทสเซียมสูงด้วย เช่น 15-7-18 หรือ 29-5-18 

การใช้ปุ๋ยให้มีประสิทธิภาพ

เกษตรกรจะใช้ปุ๋ยให้ได้ผลดีที่สุดนั้น  จะต้องรู้สิ่งสำคัญ 3 ประการ คือ
     1. รู้จักดิน และพืชที่ปลูก
     2. รู้จักปุ๋ย
     3. รู้จักวิธีใช้ปุ๋ย

การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับเคมี คือวิธีที่ถูกต้อง
     การใช้ปุ๋ยปรับปรุงดินที่ถูกต้องนั้น  เกษตรกรควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ร่วมกับปุ๋ยเคมีให้เหมาะสม กล่าวคือ ควรใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มแร่ธาตุอาหารพืชในดินและใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับปรุงดินโปร่ง และร่วนซุย เพิ่มประสิทธิภาพให้พืชดูดกินธาตุอาหาร ควรใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ให้พอเหมาะพอดี

1.6.54

พันธุ์ยาง RRIM 2025

RRIM 2025. This hybrid shows the fastest growth rate among the different hybrids under trial in Cotabato. The overall growth of the clone is fast and is already suitable for tapping at 3.5 years after planting. The trunk is vigorous, short and with mean bole volume/tree of 0.63 m3 at 14 years old. The trunk is erect, rounded, slightly fluted, and light colored. It has a smooth bark, producing white latex. Seed production is also good.
At nursery stage, it gives above average budding success. The crown is dense, wide, low set, closed; balanced, and some are one-sided. The color of the foliage is dark to light green and it is slightly susceptible to Colletotrichum leaf disease. Its dry rubber yields during its first five years of tapping are 1,621 kg/ha, 2,421 kg/ha, 2,855 kg/ha, 3,506 kg/ha and 3,855 kg/ha, respectively.
แปล
    RRIM2025 ไฮบริด นี้แสดงอัตราการเติบโตเร็วที่สุดในหมู่ลูกผสม( hybrids) ด้วยกัน  ซึ่งเปรียบเทียบความแตกต่างกันภายใต้การทดลองใน โคตาบาตู( Cotabato)การเจริญเติบโตโดยรวมรวดเร็วมาก มีขนาดต้นกรีดได้ในเวลาเพียง 3.5 ปีลำต้นมีความแข็งแรง และมีค่าเนื้อไม้เฉลี่ย 30.63 (คิวบิกเมตร)/ต้น เมื่ออายุ 14 ปี ลำต้นตรง โค้งมนเล็กน้อย เปลือกสีอ่อน เรียบ น้ำยางสีขาว ให้เมล็ดดี ทรงพุ่มแน่นทึบ กว้าง  สมดุล และบางต้นมีทรงพุ่มด้านเดียว สีของใบสีเขียวเข้ม ต้านทานโรคใบ Colletotrichum ผลของน้ำหนักยางแห้งในระหว่าง ปีแรก  คือ259 กก./ไร่  ,387 กก./ไร่,  456กก./ไร่, 488กก./ไร่ และ 616 กก./"ไร่ตามลำดับ



ปริมาณน้ำยางพันธุ์clone

พันธุ์
ลูกผสมระหว่าง
ปีที่ตัด
เฉลี่ย/ปี
เฉลี่ยเนื้อไม้(อายุ)
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
PB 350
RRIM600xPB335
1192
2270
2374
3385
2755
3083
3578
-
-
-
2662
1.16
RRIM2025
IAN873xRRIM803
1921
2915
3174
2793
2967
-
-
-
-
-
2754
1.87(14)
RRIM2027

2381
2447
3349
3526
3477
-
-
-
-
-
3036
1.30(16)


หัวสวนพันธุ์ยาง
  080-8740729