7.3.56

ราคาไม้ยางพารา

  ลิ้ง   http://www.rubber.co.th/web/service9.php

คาร์บอนเครดิต"จากสวนยาง ลดก๊าซเรือนกระจก-ลดโลกร้อน แล้วจะซื้อขายได้หรือ?


  ช่วงที่ผ่านมามีการพูดถึงกันมากทั้งในหมู่นักการเมืองและนักวิชาการณ์เกี่ยวกับการขายคาร์บอนเครดิตของสวนยางพารา มีรายงานการวิจัยว่ายางพารานั้น สามารถดูดซับคาร์บอนได้เป็นอย่างดียอดเยี่ยมตั้งแต่ต้นยาง ยันน้ำยางกันเลยทีเดียว
เกษตรกรสวนยางผู้ที่กำลังช่วยกู้โลกครั้งนี้จะได้เงินตอบแทนหรือ?
     ประเทศไทย เป็นประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติและส่งออกยางพาราเป็นอันดับหนึ่งของโลกสามารถใช้ข้อมูลในการอ้างอิงได้ว่า การปลูกสร้างสวนยางพาราสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนจากบรรยากาศ หรือลดก๊าซเรือนกระจกได้ เพื่อนำไปคำนวณเป็นมูลค่าหรือ "คาร์บอนเครดิต" (Carbon credit) ใช้เป็นข้อต่อรองทางการค้าในเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลกที่จะมีการซื้อขาย "คาร์บอนเครดิต" ในอนาคต

นายสุขุม วงษ์เอก ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า สถาบันวิจัยยางได้ศึกษาวิจัยหาปริมาณสารคาร์บอน โดยใช้วิธีหามวลชีวภาพของต้นยางพาราที่อายุต่างๆในแต่ละพื้นที่ สภาพพื้นที่ปลูกยาง จำนวนต้นที่ปลูกต่อไร่ และความสำเร็จของการปลูกยาง กับยางพันธุ์ RRIM 600 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกมากกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่ปลูกในประเทศ ด้วยการวัดมวลชีวภาพทุกส่วนของต้นยางที่โค่น อายุตั้งแต่ 2-25 ปี จำนวน 95 ต้นของสวนยางในภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ พบว่า มวลชีวภาพของต้นยางจะเพิ่มขึ้นที่ขนาดเส้นรอบต้น 20-100 เซนติเมตร แต่จะลดลงเมื่อขนาดเส้นรอบต้นโตมากกว่า 100 เซนติเมตร จึงเป็นเหตุผลหนึ่งทำให้ทราบว่าอายุที่เหมาะสมที่ควรตัดโค่นต้นยางแล้วปลูกทดแทนใหม่ เพื่อให้พื้นที่ปลูกยางนั้นเก็บเกี่ยวสารคาร์บอนในรอบใหม่ต่อไปได้

จากการวิจัยของ นายอารักษ์ จันทุมา นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้กล่าวถึงการหาปริมาณสารคาร์บอนของต้นยางพารา พบว่า
         .เมื่อต้นยางอายุ 9 ปี ปลูกยางสำเร็จได้ 84 % มีขนาดเส้นรอบต้นเฉลี่ย 54.6 เซนติเมตร ให้มวลชีวภาพ 19 เมตริกตันต่อไร่  จะเก็บสารคาร์บอนได้ 8.32 เมตริกตันต่อไร่
         .ยางอายุ 12 ปี มีเส้นรอบต้นเฉลี่ย 59.0 เซนติมเตร มีจำนวนต้นปลูก 64-78 ต้นต่อไร่ ให้มวลชีวภาพ 20-24 เมตริกตันต่อไร่ จะเก็บสารคาร์บอนได้ 11.46 เมตริกตันต่อไร่
         .ยางอายุ 15-22 ปี มีเส้นรอบต้นเฉลี่ย 65.7-71.4 เซนติเมตร มีจำนวนต้นปลูก 62-86 ต้นต่อไร่ ให้มวลชีวภาพใกล้เคียงกันคือ 30-37 เมตริกตันต่อไร่  จะเก็บสารคาร์บอนได้ 15.44 เมตริกตันต่อไร่
         .เมื่อต้นยางอายุได้ 25 ปี จะให้มวลชีวภาพ 49 เมตริกตันต่อไร่ จะเก็บสารคาร์บอนได้ 22.39 เมตริกตันต่อไร่
สรุปว่าปริมาณสารคาร์บอนที่ต้นยางกักเก็บไว้เมื่อต้นยางอายุ 9 ปี, 12 ปี, 18 ปี, และ25 ปี จะเก็บสารคาร์บอนได้ 8.32, 11.46, 15.44, และ 22.39 เมตริกตันต่อไร่ ตามลำดับ แม้กระทั่งชิ้นส่วนเนื้อเยื่อส่วนต่างๆของต้นยางก็ยังเก็บสารคาร์บอนไว้ได้อีกประมาณ 45% และการทิ้งเศษซากใบ กิ่ง ก้าน ผล เมล็ด ในแต่ละปีลงสู่ดิน เมื่อต้นยางอายุ 11-12 ปี, 15-17 ปี, และ20-21 ปี จะทิ้งเศษซาก 1.29, 0.53, และ0.33 เมตริกตันต่อไร่ ตามลำดับ เก็บสารคาร์บอนได้ 8.0 เมตริกตันต่อไร่ และผลผลิตน้ำยางจะเก็บสารคาร์บอนได้ 4.57 เมตริกตันต่อไร่ ในส่วนของดินมีปริมาณอินทรียวัตถุยังเก็บสารคาร์บอนได้อีก 7.8 เมตริกตันต่อไร่ จึงเห็นได้ว่า วงจรชีวิตของการปลูกสร้างสวนยางอายุ 25 ปี จะมีปริมาณสารคาร์บอนในแหล่งต่างๆ ได้แก่ ส่วนของต้นยาง เศษซากพืช ผลผลิตน้ำยาง และดิน ซึ่งสามารถเก็บสารคาร์บอนได้ 42.65 เมตริกตันต่อไร่

นายสุขุม กล่าวว่า นอกจากนี้การโค่นสวนยางเพื่อปลูกแทนใหม่ 387,500 ไร่ต่อปี ยังช่วยเก็บสารคาร์บอนได้ไม่น้อยกว่า 16.54 ล้านเมตริกตันต่อปี โดยไม้ยางที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 6 นิ้วสามารถนำไปใช้ทำอุปกรณ์เครื่องเรือนต่างๆจะถูกเก็บสารคาร์บอนไว้ในรูปของเฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือน เครื่องใช้สำนักงาน หรือแม้กระทั่งในล้อรถยนต์ช่วยยืดเวลาการคืนก๊าซคาร์บอนสู่บรรยากาศได้อีกประมาณ 10-20 ปี

จะเห็นได้ว่าแทบทุกส่วนของต้นยางจนถึงพื้นดิน นอกจากจะช่วยเก็บรักษาและยืดเวลาการคืนก๊าซคาร์บอนหรือลดก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศได้แล้ว ที่สำคัญยังสามารถใช้อ้างอิงในการต่อรองทางการค้าในเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก ที่จะมีการซื้อขาย "คาร์บอนเครดิต" ขึ้นในอนาคตอันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยอย่างมาก
     ดังนั้น ขั้นตอนที่จะซื้อขายนั้นต้องทำโครงการ ว่าสวนยางของท่านมันจะสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนให้โลกเราได้เท่าไหร่ แล้วเอาไปเสนอที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก หรือ อบก.  กลั่นกรอง ถ้าโครงการเราผ่านก็จะมีเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบติดตามผล ถ้าเค้ารับรองเราก็จะสามารถเอาคาร์บอนด์เครดิตเราไปขายได้เงินมาใช้เพื่อคุณภาพชีวิตให้สดใส อยู่ดี กินดี มีใช้ มากขึ้น
ที่มา: 1. กลุ่มงานคณะกรรมาธิการ การทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสำนักกรรมาธิการ3
       2. จุลสารก๊าซไลน์ขอบคุณข้อมูลจากจุลสารก๊าซไลน์ ภายใต้ความร่วมมือของ ปตท.กับวิชาการดอทคอม 

การซื้อขายคาร์บอนเครดิตของชาวสวนยาง

คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit)
คาร์บอนเครดิตคืออะไร
        คาร์บอนเครดิต หมายถึง สิ่งทดแทนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ จากการกระทำของมนุษย์ เช่น ภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม ฯลฯ โดยประเทศที่อยู่ในกลุ่ม Annex l ไม่สามารถทำการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศของตนเองได้แล้ว ทำให้จะต้องมีการสร้างความร่วมมือกับประเทศกลุ่ม Non-Annex l  โดยผ่านกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean  Development  Mechanism หรือ CDM) เพื่อให้นำมาซึ่ง Certified  Emission  Reduction หรือ CERs เพื่อใช้เป็นคาร์บอนเครดิตของตนเองทำให้มีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ  ดังนั้นจากพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocal) กำหนดให้ประเทศพัฒนาแล้วต้องลดประมาณการปล่อยก๊าซที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก หรือกรีนเฮ้าส์เอฟเฟคท์ ซึ่งทำให้เกิดภาวะโลกร้อน เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ ฯลฯ พิธีสารเกียวโตมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่16 กุมภาพันธ์ 2549 หากประเทศที่ลงนาม เช่น สหภาพยุโรป แคนาดา ญี่ปุ่น ไม่สามารถลดก๊าซเรือนกระจกประมาณ 5.2% ในปี 2551-2555begin_of_the_skype_highlighting            2551-2555      end_of_the_skype_highlighting จะมีค่าปรับถึงตันละ 2,000-5,000 บาท 

ประเทศไทยกับคาร์บอนเครดิต
      ปัจจุบันประเทศไทยมีองค์กรมหาชน เรียกว่า   องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก(องค์กรมหาชน) พ.ศ. 2550 (Thailand  Greenhouse Gas Management  Organization หรือ TGO) มีชื่อย่อว่า อบก. โดยมีกฎหมายรองรับองค์กรดังกล่าวแล้ว และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2550 ที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการวิเคราะห์ กลั่นกรองและทำความสะอาด (Clean Development Mechanism หรือ CDM) รวมทั้งติดตามประเมินผลโครงการที่ได้รับคำรับรอง รวมถึงเป็นศูนย์กลางข้อมูลการดำเนินงานและให้การสันบสนุนการดำเนินงานและให้การสนับสนุนด้านก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนให้คำแนะนำแก่ภาครัฐ และเอกชนเกี่ยวกับการจัดการก๊าซเรือนกระจก
การซื้อขายคาร์บอนเครดิต
    "การซื้อขายคาร์บอนเครดิต" จึงเป็นหนึ่งในแนวทางที่กำหนดออกมาพิเศษ เพื่อช่วยให้ประเทศตัวการปล่อยก๊าซพิษไม่ต้องถูกลงโทษ ดังนั้น "คาร์บอนเครดิต" ซึ่งเป็นสิ่งทดแทนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาผลาญน้ำมันดิบในโรงงานอุตสาหกรรมหรือยานยนต์ หากประเทศพัฒนาแล้วไม่สามารถลดมลพิษของตนได้อีกต่อไป ก็ต้องใช้วิธีช่วยเหลือประเทศด้อยพัฒนาให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเมื่อลดได้จะกลายเป็นคาร์บอนเครดิตของตนเอง ทำให้ไม่ต้องจ่ายค่าปรับเช่น การปลูกป่าไม้ 2.5 ไร่ จะสามารถเก็บคาร์บอนเครดิตได้ 2 ตัน การใช้พลังงานแสงอาทิตย์แทนน้ำมัน 1 หน่วยจะได้เครดิตประมาณ 0.6 กิโลกรัม

     ตัวอย่างเช่นประเทศ A อยู่ในยุโรป ถูกกำหนดให้ลดก๊าซเรือนกระจก 50 ล้านตัน แต่โรงงานอุตสาหกรรมหรือโครงการที่มีในประเทศ A พยายามลดสุดๆแล้ว ลดได้เพียง 30 ล้านตัน จึงต้องไปซื้อคาร์บอนเครดิตจากประเทศกำลังพัฒนามาอีก 20 ล้านตัน ไม่เช่นนั้นจะโดนปรับ ตันละ 3,000 บาทก็ประมาณ 6 หมื่นล้านบาท

   ประเทศ ก จึงติดต่อไปที่ ฟาร์มเลี้ยงหมูขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในประเทศ ข เพื่อช่วยสร้างโรงไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ เมื่อสร้างเสร็จทำให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าฟาร์มหมูลดลงเดือนละ 2 ล้านบาท ถือเป็นการลดจำนวนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม สมมติว่าลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ปีละ 1 ล้านตัน จำนวนที่ลดได้ จะถูกเรียกว่า "คาร์บอนเครดิต" ซึ่งประเทศ A จะได้คาร์บอนเครดิต 1 ล้านตันไปรวมกับ 30 ล้านตันที่มีอยู่ หรือในอนาคตฟาร์มหมูที่อยู่ใกล้เคียงอาจใช้เทคโนโลยีเดียวกัน มาลงทุนสร้างโรงงานไฟฟ้าก๊าซชีวภาพเอง แล้วขายคาร์บอนเครดิตให้ประเทศ A ก็ได้

   ทั้งนี้หน่วยงานหรือบริษัทที่จะซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตได้ ต้องผ่านมาตรฐานตาม "โครงการซีดีเอ็ม" หรือโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด(Clean Development Mechanism หรือ CDM Project-Carbon Credit) และในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้มีมติอนุมัติการขึ้นทะเบียน 3 โครงการแรกของไทย เพื่อให้สามารถขายคาร์บอนเครดิตตามข้อตกลงได้ คือ

1.โรงไฟฟ้าด่านช้างไบโอเอนเนอร์ยี่

2.โครงการโรงไฟฟ้าพลังแกลบ ของบริษัท เอ.ที.ไบโอเพาเวอร์ จำกัด

3.โครงการไบโอแมสของโรงไฟฟ้าขอนแก่น

    สำหรับโรงไฟฟ้าขอนแก่นที่นำชานอ้อยมาเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้านั้น มีการประเมินว่าจะสามารถลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 5.7 หมื่นตันต่อปี หากนำคาร์บอนเครดิตมาซื้อขายจะได้ประมาณ 21 ล้านบาท

    ล่าสุดมีอีก45 บริษัทที่เสนอขอเข้าโครงการซีดีเอ็ม เพราะราคาซื้อขายคาร์บอนเครดิตได้ถีบตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนถึงระดับ 7 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันแล้ว โครงการส่วนใหญ่ร้อยละ 50 จะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ (ไบโอแก๊ส) เช่น การผลิตก๊าซจากน้ำเสีย อันดับ 2 คือด้านเทคโนโลยีชีวมวล (ไบโอแมส) ร้อยละ 25 ส่วนที่เหลือเป็นโครงการประหยัดพลังงานไฟฟ้า โครงการแปลงขยะชุมชนเป็นพลังงาน ด้านคมนาคมขนส่ง ฯลฯ

   "คาร์บอนเครดิต" กำลังกลายเป็นธุรกิจซื้อขายมลพิษ ที่มีแนวโน้มทำเงินมหาศาลในอนาคต รัฐบาลปัจจุบันจึงออกพระราชกฤษฎีกา "จัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2550" มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ที่ผ่านมา หรือที่เรียกย่อว่า อบก.หรือ "TGO" (Thailand Greenhouse Gas Management Organization)

  การจัดตั้งอบก.มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมพัฒนาโครงการและตลาดซื้อขายปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรอง รวมถึงเป็นศูนย์กลางข้อมูลดำเนินงานและให้ทุนสนับสนุนการดำเนินงานด้านก๊าซเรือนกระจก

  แม้การซื้อขายคาร์บอนเครดิตจะมีข้อดีคือทำให้ประเทศพัฒนาไม่ต้องเจอค่าปรับจากพิธีสารเกียวโต ขณะที่ประเทศด้อยพัฒนาก็ได้รับการสนับสนุนให้ใช้เทคโนโลยีสะอาด เพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อน

  แต่มีนักวิชาการกลุ่มหนึ่งออกมาเตือนว่าหากประเทศกำลังพัฒนา เช่น ไทย ลาว เวียดนาม นำคาร์บอนเครดิตมาขายจนหมดสิ้น จะกลายเป็นภาระผูกพันถึงอนาคต หากมีข้อตกลงใหม่ที่กำหนดให้ประเทศด้อยพัฒนาต้องช่วยลดก๊าซเรือนกระจกด้วย ประเทศเหล่านี้ก็จะไม่มีคาร์บอนเครดิตเหลือ เพราะขายล่วงหน้าไปหมดแล้ว

  ศ.ดร.สุรพงศ์จิระรัตนานนท์ บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานกล่าวแนะนำว่า ไทยควรมีการเก็บคาร์บอนเครดิตไว้บ้าง เพราะอีก 10 ปีข้างหน้า อาจต้องถูกบังคับให้ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกเช่นกัน เมื่อถึงเวลานั้นอาจไม่มีคาร์บอนเครดิตเหลือ เพราะขายล่วงหน้าให้ประเทศอื่นหมดแล้ว ราคาที่ขายได้ก็ต่ำกว่าจำนวนที่กำหนดให้จ่ายค่าปรับหลายเท่า ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องประเมินสถานการณ์ในอนาคตเผื่อไว้ด้วย นอกจากนี้ควรมีการลดการใช้พลังงานด้านอื่นพร้อมกัน เนื่องจากภาคธุรกิจไทยมีการใช้พลังงานไฟฟ้าสิ้นเปลืองอย่างมาก

  ศ.ดร.สุรพงศ์ยกตัวอย่างตึกขนาดใหญ่แห่งหนึ่งย่านถนนรัชดาภิเษกว่า มีการใช้พลังงานไฟฟ้าเทียบเท่ากับเมืองเวียงจันทน์ เมืองหลวงของลาว เพราะต้องเปิดไฟและแอร์ตลอดทั้งวัน หน่วยงานรัฐควรใช้นโยบายเหมือนเกาหลีใต้ ที่ออกกฎข้อบังคับให้สถานที่ราชการเปิดเครื่องปรับอากาศไว้ที่อุณหภูมิ 26 องศา ส่วนที่มาเลเซียก็พยายามสร้างอาคารแบบใหม่ที่ประหยัดพลังงานจากเดิม 3-5 เท่า โดยการประหยัดพลังงานไฟฟ้าส่วนนี้อาจนำมาเป็นคาร์บอนเครดิตขายในอนาคตได้

อัตราการใส่ปุ๋ยยางพาราตามคำแนะนำสกย.


อัตราการใส่ปุ๋ยยางพาราตามคำแนะนำสกย.

สำหรับสวนยางพาราในระยะก่อนให้ผลผลิต สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง หรือ สกย.โดยคำแนะนำจากสถาบันวิจัยยาง ได้กำหนดให้เจ้าของสวนยางพาราใช้ปุ๋ยยางสูตรทั่วไป คือ สูตร 20-8-20 สำหรับเขตปลูกยางพาราเดิม (ภาคใต้และภาคตะวันออก) โดยอัตราปุ๋ยจะขึ้นอยู่กับชนิดของดิน  และสูตร 20-10-12 สำหรับเขตปลูกยางพาราใหม่ (ภาคกลาง, ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) โดยอัตราปุ๋ยจะไม่ขึ้นอยู่กับชนิดของดิน ดังตาราง
เขตปลูกยางเดิม
      ในเขตปลูกยางพาราเดิม สำหรับการปลูกแทนแบบ 1 ตามที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางกำหนด คือ ปลูกด้วยต้นตอตา หรือยางชำถุง ให้ใส่ปุ๋ยบำรุงสูตร 20-8-20 ในอัตราที่ขึ้นอยู่กับชนิดของดิน และอายุต้นยางพารา ดังนี้
งวด
อายุ(เดือน)
ดินร่วน-เหนียว
ดินร่วน-ทราย
กรัม/ต้นกก./ไร่กรัม/ต้นกก./ไร่
2/12504605
2/24504907
2/36706907
3/1121301017013
3/2151501221016
3/3181501221016
4/1241501221016
4/2302301832025
5/1362301832025
5/2422401933026
6/1482401933026
6/2542602136028
7/1602602136028
7/2662702237029
รวม2,4801983,430267
  • สำหรับเขตปลูกยางใหม่ ตามที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางกำหนด คือ ปลูกยางชำถุง อย่างเดียว ให้ใส่ปุ๋ยบำรุงสูตร 20-10-12 สูตรเดียว โดยไม่แยกชนิดของดิน ตามอัตรา ดังนี้
เขตปลูกยางใหม่
  • งวดอายุ(เดือน)กรัม/ต้นกก./ไร่
    2/11606
    2/26807
    3/1121009
    3/21811010
    4/12412011
    4/23018016
    5/13618016
    5/24218016
    6/14818016
    6/25420018
    7/16020018
    7/26620018
    8/17220018
    8/27820018
    รวม2,190197
  • ควรใส่สลับปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพร่วมและสารปรับปรุงดิน  หรือโดโลไมท์ ก็จะได้ผลดียิ่งขึ้น

ราคายางพาราวันนี้ http://www.rubber.co.th/menu5.php