24.11.54

แมลงศัตรูยางพารา

หนอนทราย
หนอนทราย (Cockchafers) เป็นตัวหนอนของด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่งซึ่งเป็นศัตรูกัดกินและทำลายรากต้นยางพารา ทำให้ต้นยางพาราตายเป็นหย่อมๆ 

ลักษณะและวงจรชีวิตของหนอนทราย

หนอนทราย
ตัวเมียวางไข่ในสวนยางพารา อาจเป็นฟองเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่มก้อน และฟักเป็นตัวหนอนในอีก 2-3 สัปดาห์ต่อมา ตัวหนอนมีสีขาว รูปร่างงอเหมือนตัว C ลำตัวยาว 3-5 ซม. อาศัยอยู่ในดิน กินอินทรียวัตถุและรากพืชเป็นอาหาร เมื่อเจริญเต็มที่แล้วจึงขุดดินเป็นโพรงลึกลงไปและสร้างผนังหนาห่อหุ้มตัวเพื่อเข้าดักแด้ ตัวเต็มวัยเป็นแมลงปีกแข็งขนาดใหญ่ ตัวอ้วนป้อมและสั้น ลำตัวยาว 3-5 ซม. กลางวันหลบซ่อนในดิน ออกบินหากินช่วงพลบค่ำ

การทำลายของหนอนทราย

กัดกินรากต้นยางพาราในระยะต้นยางเล็กอายุ 6-12 เดือน ทำให้ต้นยางพารามีอาการใบเหลือง และเหี่ยวแห้งตาย มักพบในสวนยางพาราที่ปลูกทดแทน ตัวหนอนจะอาศัยอยู่ที่รากของตอยางพาราเก่า และออกมากัดกินรากต้นยางอ่อน และพืชร่วม พืชแซมชนิดอื่นๆ ที่อยู่ในสวนยางพารา เช่น สับปะรด หวาย ลองกอง ทุเรียน มังคุด เนียงนก มะฮอกกานี รวมทั้งหญ้าคา ยังไม่พบความเสียหายในต้นยางพาราที่มีอายุมาก แต่พบว่าตอยางพาราเก่าที่อยู่ในสวนยางพาราจะเป็นแหล่งอาศัยและเป็นแหล่งอาหารของแมลงชนิดนี้เป็นอย่างดี

การระบาดของหนอนทราย

หนอนทรายมักระบาดในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม และจะระบาดมากในพื้นที่ปลูกยางพาราที่เป็นดินร่วนปนทราย 

การป้องกันกำจัดหนอนทราย

  1. ทำการดักจับเต็มวัยช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ด้วยกับดักแสงไฟหรือตาข่ายในช่วงพลบค่ำ จะช่วยลดปริมาณแมลงได้เป็นอย่างดี
  2. ควรปลูกตะไคร้ เพื่อล่อตัวหนอนทรายให้ออกมาแล้วนำไปทำลาย
  3. ใช้สารเคมีราดรอบโคนต้นยางพาราและตอยางพาราเก่า แล้วกลบดิน โดยสารเคมีที่ใช้ จะเป็นประเภท
    • คาร์โบซัลแฟน (carbosulfan) ที่พบและมีจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น พอสซ์ 20% EC  โดยใช้ 40-80 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ราดรอบ ๆ โคนต้นยางพาราที่ถูกหนอนทรายทำลาย และต้นข้างเคียง ต้นละ 1-2 ลิตร 
    • ฟิโปรนิล(fipronil) ที่พบและมีจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น แอสเซ็นต์ 5% SC   โดยใช้ 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ราดรอบ ๆ โคนต้นยางพาราที่ถูกหนอนทรายทำลาย และต้นข้างเคียง ต้นละ 1-2 ลิตร
หมายเหตุ: อ้างอิงข้อมูลจาก โรคและศัตรูยางพาราที่สำคัญในประเทศไทย, สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2549

เพลี้ยหอย

เพลี้ยหอย (Scale Insects) เพลี้ยหอยที่พบบนต้นยางมี 2 จำพวก คือ พวกที่ไม่มีเกราะหุ้มตัว และพวกที่มีเกราะหุ้มตัว เพลี้ยหอยทำลายโดยการดูดน้ำเลี้ยงตรงส่วนที่เป็นสีเขียว ทำให้ต้นยางชะงักการเจริญเติบโต มักพบในเรือนเพาะชำ หรือบนต้นยางอ่อน

เพลี้ยหอย-ยางพารา

ลักษณะและวงจรชีวิตของเพลี้ยหอย

ตัวอ่อนเมื่อเริ่มออกจากไข่จะมีขาและเคลื่อนที่ได้ แต่หลังจากลอกคราบแล้วขาจะหายไป เมื่อเริ่มเจาะดูดน้ำเลี้ยงแล้วจะไม่เคลื่อนไหว พร้อมสร้างเกราะหุ้มตัวเอง เพลี้ยหอยที่พบอยู่ตามกิ่งก้านของต้นยาง เป็นตัวเมียที่สร้างเกราะหนาไว้ป้องกันตัว และอยู่กับที่ตลอดไป เกราะจะมีขนาดประมาณ 3-5 มม. มีสีน้ำตาลแก่ ตัวผู้ไม่มีปากดูด และมีขนาดเล็กกว่าตัวเมียมาก มีปีกและบินได้

การทำลายของเพลี้ยหอย

ส่วนของกิ่งก้านที่ถูกเพลี้ยหอยดูดกินน้ำเลี้ยงจะเหี่ยวดำ และมีซากเพลี้ยหอยเกาะกิ่งก้านที่มันดูดกินน้ำเลี้ยง ต่อมากิ่งก้านนั้นจะแห้งตาย ถ้ามีเพลี้ยปริมาณมาก จะระบาดลุกลามไปทำอันตรายต่อส่วนลำต้น ใบยางและก้านใบ

การระบาดของเพลี้ยหอย

ช่วงอากาศแห้งแล้ง

การป้องกันกำจัดเพลี้ยหอย

  1. โดยธรรมชาติเพลี้ยหอยจะถูกศัตรูธรรมชาติ เช่น แมลง และเชื้อรา เข้าทำลายไข่ และตัวอ่อนของมัน
  2. ใช้สารเคมี เช่น
    • มาลาไทออน(malathion) ที่พบและมีจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น มาลาไธออน 83% EC โดยใช้ในอัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นบริเวณที่มีเพลี้ย 3-4 ครั้ง
    • ไวท์ออยล์ (White Oil) ที่พบและมีจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น ทานาแทค 67%  EC โดยใช้ในอัตรา 200 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเฉพาะที่พบการระบาด พ่นซ้ำตามความจำเป็น
หมายเหตุ: อ้างอิงข้อมูลจาก โรคและศัตรูยางพาราที่สำคัญในประเทศไทย, สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2549


คุณคิดอย่างไรกับพันธ์ยางโคลนนิ่งมาเลย์

2025อายุ 1ปีซ้าย กับ 600อายุ 3ปี

RRIM600  RRIM2001  RRIM2025  RRIM2027  RRIM3001  

PB311  PB350  

RRIT251  RRIT408

ปลูกพันธุ์ไหนดี น้ำยางดีแค่ไหน ต้นโตเป็นไง

27.9.54

หน้าฝนระวังโรคเชื้อรา

                ช่วงนี้มีฝนตกเกือบทั่วทุกภาคของประเทศได้รับอิทธิพล จากพายุ มรสุมบ้าง  ภาคอีสาน กลาง ตะวันออก  ใต้ตะวันตก   ใต้ตะวันออกบน ฝนตกหนัก แปลงยางที่ปลูกยางพันธุ์อ่อนแอต่อโรค 600 และสวนข้างเคียง  ระวังโรคไฟท๊อปฯ  เชื้อราเข้าทำลาย  ทำให้ยางใบร่วง รุนแรงก็จะร่วงหมดทั้งสวนร่วงแล้วร่วงอีก3-4รอบในบางแปลง หากเป็นยางอ่อนใบที่ยอดจะเริ่มร่วง เชื้อออยเดี้ยมเข้าทำลาย กับสภาวะอากาศกลางวันร้อน กลางคืนหนาว ฝนตกชื้น ทำให้ผลผลิตลดลง  ต้นยางชะงักการเจริญเติบโต  โรคจะแพร่กระจายทั้งสวน  และข้างเคียง หากเป็นพันธุ์600จะลามถึงกันรวดเร็ว โดยผ่านอากาศ ลม ความชื้น แพร่กระจาย  ไม่ใช่เฉพาะภาคใต้อย่างเดียวแล้วที่เกิดโรค  คิดว่าต่อไปแปลงยางใดที่มีความชื้นคงต้องเฝ้าระวังและหาทางป้องกัน โรคเชื้อราต่างๆไม่ให้เกิดความเสียหายแก่แปลงยาง
                อีสานแต่ก่อนไม่ปลูกยางฝนไม่ตก  อากาศแล้ง  แต่ตอนนี้ปลูกยางเพิ่มมากขึ้น เกิดความชื้้น อากาศเย็นจะดึงความกดอากาศต่ำทำให้เกิดฝนตก ตกหนักบางแห่งโรคเชื้อราเข้าระบาดได้ง่าย ควรระวังหากพบหาทางป้องกันโดยเร็ว




23.8.54

ใบยางพันธุ์ต่างๆ


บทคัดย่องานวิจัย ยางพันธุ์ PB311


   การเปรียบเทียบพันธุ์ยางเอเค 247 เพื่อคัดเลือกพันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง เริ่มทำการทดลองเดือนสิงหาคม 2524 และสิ้นสุดการทดลองในเดือนเมษายน 2543 มีพันธุ์ยางทดสอบทั้งหมด 16 พันธุ์ ได้แก่ PB 217, PB 235, PB 255, PB 260, PB 310, PB 311, RRIM 803, KRS 25, KRS 33, KRS 48, KRS 156, RRIM 600(A), RRIM 600(B), RRIM 600(D) โดยมีพันธุ์ RRIM 600 และพันธุ์ GT 1 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ได้ทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยยางนราธิวาส อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block จำนวน 3 ซ้ำ ระยะปลูก 2.5 X 8 เมตร (60 ต้น/แปลงย่อย) พื้นที่ทำการทดลอง 40.5 ไร่ เปิดกรีดเมื่อเดือนพฤษภาคม 2533 มีต้นได้ขนาดเปิดกรีด 58.8 เปอร์เซ็นต์ของแปลง เปิดกรีดสูงจากพื้นดิน 150 ซ.ม. โดยใช้ระบบกรีดครึ่งลำต้นวันเว้นวัน
          ผลการศึกษา พบว่าพันธุ์ PB 311 ให้ผลผลิตเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการกรีด 11 ปีสูงสุด 415 กิโลกรัม/ไร่/ปี มีผลผลิต(กรัม/ต้น/ครั้งกรีด)สูง การเจริญเติบโตก่อนเปิดกรีดดี มีความต้านทานต่อโรคใบจุดก้างปลา โรคไฟทอฟโทราดี รองลงมาคือพันธุ์ PB255 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 378 กิโลกรัม/ไร่/ปี และ PB 260 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 350 กิโลกรัม/ไร่/ปี และเมื่อเปรียบเทียบการให้ผลผลิตระหว่างพันธุ์ PB 311 กับพันธุ์เปรียบเทียบ (RRIM 600 และ GT 1) พันธุ์ PB 311 ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 57' 148.7 เปอร์เซ็นต์ และสูงกว่าพันธุ์ GT 1 231.8 เปอร์เซ็นต์
          นอกจากนี้ยังพบว่า พันธุ์ที่เข้ามาจากต่างประเทศเกือบทุกพันธุ์ยกเว้นพันธุ์ PB 217 ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ RRIM 600 ส่วนพันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกพันธุ์จากการทดสอบพันธุ์ยางขั้นต้นเอเค 109 นั้นมีเพียง KRS 156 ให้ผลผลิตเฉลี่ยสุงกว่าพันธุ์ RRIM 600 (พันธุ์เปรียบเทียบ) และพันธุ์ที่ผ่านการฉายรังสีทุกพันธุ์ยกเว้นพันธุ์ RRIM 600(D) ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ RRIM 600 
การศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่า ในการเปรียบเทียบเทียบพันธุ์ยางเอเค 247 นั้นมียางหลายพันธุ์ที่มีผลผลิตสูงและลักษณะรองต่าง ๆ ดี ที่น่าจะนำไปพิจารณาประกอบคำแนะนำพันธุ์ยางแก่เกษตรกร

เหม่าะกับการปลูกพื้นที่เชิงเขา ที่สูง เพราะทรงพุ่มไม่ใหญ่ ต้านทานลมดี

6.8.54

การปลูกด้วยต้นยางชำถุง

          เป็นวิธีปลูกยางที่ประสบผลสำเร็จสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีอื่น ๆ ต้นเจริญเติบโตสม่ำเสมอ ลดช่วงระยะดูแลรักษาต้นยางอ่อนให้สั้นลงสามารถกรีดยางได้เร็วกว่าการปลูกด้วยต้นตอตาหรือติดตาในแปลง การนำต้นยางชำถุงมีอยู่ 2 วิธีคือ การใช้วิธีติดตาในถุง ทำโดยการปลูกต้นกล้ายางในถุงขนาด 8x10 นิ้ว เมื่อต้นกล้าอายุ 4-8 เดือน ก็ทำการติดตา อีกวิธีหนึ่งคือ การใช้ต้นตอตาเขียวมาปลูกในถุงขนาด 5x16 นิ้ว และ 4x15 นิ้ว ทั้ง 2 วิธีจะมีข้อที่แตกต่างกันคือ การชำถุงด้วยต้นตอตาเขียวจะใช้เวลาในการแตกฉัตรที่ 1,2 นานกว่าวิธีการติดตาในถุง นั่นคือการปลูกด้วยต้นตอตาเขียวจะใช้เวลาเติบโต 7 1/2-10 สัปดาห์ แต่การติดตาในถุงจะใช้เวลา 6-7 1/2 สัปดาห์เท่านั้น แต่ความเสียหายเมื่อย้ายไปปลูก ต้นยางชำถุงที่ปลูกด้วยวิธีติดตาในถุงจะเสียหายสูงกว่าการชำถุงด้วยต้นตอตาเขียว 5-6 เท่าตัว
สำหรับวิธีการปลูก ด้วยต้นยางชำถุงจะมีขั้นตอนและวิธีปฏิบัติดังนี้
            1. เตรียมต้นยางชำถุงโดยใช้ต้นตอตาเขียว เริ่มตั้งแต่การนำดินกรอกใส่ถุงขนาด 4x15 นิ้ว ใช้ดินร่วนผสมปุ๋ยหินฟอสเฟตอัตรา 7-10 กรัมต่อถุง แล้วนำอัดใส่ถุงให้แน่น ใช้ไม้ปลายแหลมปักลงกลางถุงให้เป็นรู ใช้ต้นตอตาปลูกให้ตาอยู่สูงจากดินในถุงประมาณ 2 นิ้ว อัดดินให้แน่นยกนำไปเรียงไว้ในที่ร่มรำไรระยะแถวกว้าง 10 ถุง และเมื่อตาแตกออกจึงจัดขยายเป็น 4 ถุงต่อความกว้างของแถง การบำรุงรักษาหลังตางอกแล้ว 2-3 สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยสูตร 1 ครั้งหนึ่ง และครั้งต่อไปทุก 2-4 สัปดาห์ ในอัตรา 5 กรัมต่อถุงจนกว่าต้นตาโต 1-2 ฉัตร มีใบแก่เต็มที่ (สังเกตยอดของฉัตรเริ่มผลิตยอดอ่อนเป็นปุ่มขึ้นมา) ก็พร้อมที่จะย้ายนำไปปลูกในแปลงได้
            2. การปลูก เริ่มตั้งแต่การเตรียมพื้นที่ การเตรียมหลุมปลูก ซึ่งจะเหมือนกันกับการปลูกด้วยต้นตอตา ส่วนวิธีการปลูกใช้มีดคม ๆ กรีดเอาก้นถุงออก กรณีที่มีราม้วนอยู่ก้นถุงให้ตัดออกด้วย นำถุงหย่อนลงไปในหลุม แล้วใช้มีดกรีดถุงอีกครั้ง จากก้นจนถึงปากถุงทั้ง 2 ข้าง นำดินกลบพอหลวมแล้วดึงเอาถุงพลาสติกออก กลบดินเพิ่มและกดให้แน่นจนได้ระดับบริเวณโคนต้นสูงระดับเดียวกับที่ปลูกในถุง ส่วนการดูแลรักษาโดยเฉพาะการใส่ปุ๋ย ชนิดของปุ๋ยและปริมาณที่ใส่ก็จะกระทำเหมือนกันกับการปลูกด้วยต้นตอตา 

credit by

©ข้อมูลจาก®
พืชไร่เศรษฐกิจ. ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กรมวิชาการเกษตร (http://www.doa.go.th)  

12.7.54

ระบบกรีดยางพารา

การกรีดยางที่ดีก็เหมือนกับการจะทำอะไรสักอย่าง หากต้องการให้วิธีการและขั้นตอนดำเนินไปถูกทิศทาง ก็จำเป็นที่จะต้องกำหนดหลักการหรือเป้าหมายที่ต้องการขึ้นมาก่อน ซึ่งหลักการในการกรีดยางที่ดี มี 4 ข้อ ดังนี้
  1. กรีดให้ได้น้ำยางมากที่สุด ข้อนี้คงไม่มีใครที่จะปฏิเสธอย่างแน่นอน เนื่องจากน้ำยางจะมีอยู่ในท่อน้ำยางที่อยู่ในเปลือกชั้นใน ยิ่งเข้าใก้ลเยื่อเจริญ(Cambium)มากเท่าใดจำนวนท่อน้ำยางก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น การกรีดในแต่ละครั้งพื่อให้ได้น้ำยางมากที่สุด ก็คือ
    • ลักษณะหน้ากรีดลึกพอเหมาะและเรียบที่กรีดโดยผู้กรีดที่มีฝีมือดีกรีดเวียนจากซ้ายบนลงมาทางขวาล่าง เพื่อให้ตัดท่อน้ำยางให้มากที่สุด (ท่อน้ำยางเรียงตัวเอียงประมาณ 3 องศา เวียนจากขวามาซ้าย)
    • การกรีดให้ลึกเข้าใก้ลเยื่อเจริญมากที่สุด เพื่อให้ตัดท่อน้ำยางให้มากที่สุด แต่ต้องไม่ทำให้เยื่อเจริญเสียหาย หากเรากรีดห่างจากเยื่อเจริญ 1.0 มิลลิเมตร เราจะตัดท่อน้ำยางได้ประมาณ 50 % แต่หากเรากรีดให้ลึกลงไปอีกโดยห่างจากเยื่อเจริญ 0.5 มิลลิเมตร เราจะตัดท่อน้ำยางได้มากประมาณถึง 80 %
    • ความยาวของรอยกรีด การกรีดครึ่งลำต้นหรือ 1/2 ย่อมได้น้ำยางมากกว่าการกรีด 1/3 ของลำต้น เพราะรอยกรีดยาวกว่าทำให้สามารถตัดท่อน้ำยางได้มากกว่า
    • มุมกรีดควรมีขนาดพอเหมาะคือ 30 องศา กับแนวระดับ
    • ความหนาของเปลือกยางที่กรีดหรือถูกเฉือนออกมา หากบางเกินไป ก็จะได้น้ำยางน้อย แต่ถ้าหนาเกินไป ก็จะทำให้สิ้นเปลืองเปลือกยาง
    • การกรีดยางด้วยวิธีการกระตุกข้อมือจะทำให้มีดเฉือนเปลือกยางด้วยความเร็วอย่างฉับพลัน และด้วยมีดที่คมอยู่เสมอก็จะทำให้รอยเฉือนคม ทำให้ได้น้ำยางมากกว่าการกรีดด้วยวิธีลากด้วยท่อนแขน
    • การกรีดวันเว้นวัน จะทำให้ต้นยางมีเวลาในการสร้างน้ำยางได้เต็มที่ ซึ่งจะทำให้ได้รับน้ำยางมากกว่าการกรีด 3 วันเว้น 1 วัน
    • ควรกรีดในช่วงเวลาประมาณ 3.00 น.- 5.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่อากาศเย็น ส่งผลให้น้ำยางไหลได้นาน ผลลัพท์ก็จะได้น้ำยางมากตามไปด้วย
  2. ทำความเสียหายให้กับต้นยางน้อยที่สุด ต้องยอมรับว่าการกรีดยางเป็นการทำร้ายต้นยางชนิดจำเป็นต้องทำ ดังนั้น การกรีดยางที่ดีก็ควรจะเป็นการกรีดที่ทำร้ายต้นยางให้น้อยที่สุด หลักการในข้อนี้ ก็เพียงแต่เราต้องไม่กรีดให้บาดถึงเยื่อเจริญ นั่นเอง วิธีการก็คือ ผู้กรีดต้องมีความชำนาญมากพอและวิธีการกรีดที่ใช้การกระตุกข้อมือแทนการลากท่อนแขน (การกระตุก มีดจะเฉือนเปลือกยางให้ขาดออกมาเป็นชิ้นเล็ก ๆ ถ้าเกิดพลาดพลั้งถึงขั้นบาดเยื่อเจริญบ้าง ก็จะบาดเป็นแผลเล็ก ต้นยางสามารถเชื่อมหรือประสานแผลเข้าด้วยกันได้ แต่การลากด้วยท่อนแขน จะเฉือนเปลือกยางเป็นชิ้น ๆ ยาวกว่า หากพลาดพลั้ง ก็จะบาดเป็นแผลที่ยาวกว่า)
  3. กรีดให้ได้นานที่สุด ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจะกรีดยางให้ได้นานที่สุด (คุ้มค่าแรงและหยาดเหงื่อที่เราอดทนตรากตรำกรำแดดเปียกฝนมาตั้งแต่การโค่น-กวาด-เผา-ไถ-ขุดหลุม-ปลูก-ซ่อม-กำจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ย(ครั้งแล้วครั้งเล่า) ก็คือการกรีดที่ไม่บาง ไม่หนามากเกินไป และการมีวันหยุดกรีดเพื่อให้ต้นยางได้มีเวลาในการสร้างน้ำยางมาทดแทนน้ำยางที่ถูกกรีดออกไป ซึ่งโดยคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรที่คำนึงถึงต้นยางเป็นอันดับแรก แนะนำว่า ถ้าเป็นยางพันธ์ RRIM 600 แล้วละก็ ควรกรีดครึ่งต้น วันเว้นวัน หากเริ่มกรีดที่ระดับความสูง 150 เซ็นติเมตร หน้ากรีดแรก ก็จะกรีดได้ประมาณ 5-5.5 ปี หน้กรีดที่สอง ก็อีก 5-5.5 ปี รวมสองหน้ากรีด(เปลือกแรก) ก็ 10-11 ปี สำหรับเปลือกที่สอง ก็ประมาณว่า 10-11 ปี เท่า ๆ กัน รวม 2 หน้ากรีด ก็ 20-22 ปี แต่ถ้าเรากรีดแบบ 4-5 วันเว้น 1 วัน แม้จะเป็นการกรีดเพียง 1 ใน 3 ของลำต้น หน้ากรีดทั้งสองหน้าก็จะหมดไปในเวลา ไม่เกิน 16 ปี
  4. เสียค่าใช้จ่ายในการกรีดน้อยที่สุด

ระบบกรีดยางพารา

เมื่อทราบหลักการกรีดยางพาราที่ดีแล้วว่าเราต้องการอะไรบ้าง ก็หันมาพิจารณาสวนยางพาราของเราเองว่าจะใช้ระบบกรีดแบบใด ซึ่งย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น พันธุ์ยาง นอกจากนี้ในความเป็นจริง สภาพของสวนยางพาราก็มีหลายแบบ เช่น อาจเป็นสภาพสวนยางที่กำลังจะเริ่มเปิดกรีดใหม่ (ซ่งจะเป็นการกรีดยางหน้าปกติ) หรือเป็นการกรีดสองหน้าต่างระดับ หรือเป็นการกรีดยางหน้าสูง หรือเป็นการกรีดยางก่อนโค่น ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะการกรีดยางหน้าปกติ ซึ่งเป็นการกรีดยางที่ระดับความสูงตั้งแต่ 150 เซ็นติเมตร ลงมา ระบบกรีดยางหน้าปกติ ที่แนะนำโดยสถาบันวิจัยยาง มี 5 ระบบ ดังนี้
  1. กรีดครึ่งลำต้นวันเว้นสองวัน เหมาะกับยางพาราทั่ว ๆ ไป โดยเฉพาะพันธุ์ยางพาราที่อ่อนแอต่ออาการเปลือกแห้ง อาทิ พันธุ์ BPM 24, PB 235, PB 255, PB 260 และ RRIC 110
  2. กรีดครึ่งลำต้นวันเว้นวัน ใช้ได้กับพันธุ์ยางพาราทั่ว ๆ ไป เช่น พันธุ์ RRIM 600
  3. กรีดครึ่งลำต้นสองวันเว้นหนึ่งวัน ใช้กับสวนยางพาราที่กำลังเริ่มกรีดเปลือกสองหรือเปลือกงอกใหม่ หรือสำหรับสวนยางขนาดเล็กกว่า 10 ไร่(ทั้งเปลือกแรกและเปลือกสอง) แต่จำนวนวันที่กรีดต่อปีไม่ควรเกิน 160 วัน ระบบนี้ไม่ควรใช้กับพันธุ์ยางพาราที่อ่อนแอต่ออาการเปลือกแห้ง
  4. กรีดหนึ่งในสามของลำต้นสองวันเว้นหนึ่งวัน ใช้กับสวนยางพาราที่กำลังเริ่มกรีดเปลือกสองหรือเปลือกงอกใหม่ หรือสำหรับสวนยางขนาดเล็กกว่า 10 ไร่(ทั้งเปลือกแรกและเปลือกสอง) แต่จำนวนวันที่กรีดต่อปีไม่ควรเกิน 160 วัน ระบบนี้ไม่ควรใช้กับพันธุ์ยางพาราที่อ่อนแอต่ออาการเปลือกแห้ง
  5. กรีดหนึ่งในสามของลำต้นวันเว้นวันโดยควบคู่กับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางความเข้มข้น 2.5 %ระบบนี้ไม่ควรใช้กับพันธุ์ยางพาราที่อ่อนแอต่ออาการเปลือกแห้ง และไม่ควรใช้กับสวนยางพาราในเขตแห้งแล้ง

การจัดการสวนยาง

  1. วิธีการใส่ปุ๋ย
    • ที่ราบ ควรใส่เป็นแถบซึ่งควรอยู่ตรงแนวทรงพุ่มต้นยางทั้ง 2 ด้าน โดยขุดดินเป็นแถบหรือร่องลึก 5-10 ซม. ใส่ปุ๋ยแล้วกลบ
    • ที่ลาดชันที่ไม่ได้ทำขั้นบันได ควรใส่เป็นหลุมแล้วกลบ โดยขุดหลุมลึก 5-10 ซม.ต้นละ 2 หลุมเป็นอย่างน้อย
    • ที่ลาดชันและทำขั้นบันไดแล้ว ควรขุดดินเป็นแถบหรือร่องลึก 5-10 ซม. ใส่ปุ๋ยแล้วกลบ หรือใส่เป็นหลุม ต้นละ 2 หลุมเป็นอย่างน้อย
  2. ช่วงเวลาที่เหมาะต่อการใส่ปุ๋ยคือ ช่วงที่ดินมีความชื้นหรือความนุ่มพอเพียงที่จะทำการขุดได้นั่นเอง และขณะใส่ต้องไม่ใช่ช่วงที่ยอดยางกำลังผลิใบอ่อน (ต้องรอให้ยอดอ่อนกลายเป็นใบเพสลาดก่อน)
  3. ควรทำการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ได้ทรงพุ่มที่ดี เพื่อให้ต้นยางเจริญเติบโตเร็ว และได้ไม้ที่มีขนาดความยาวของเปลา คือเปลายาว 2.5 เมตร กิ่งที่อยู่ในระดับต่ำกว่านี้จะต้องตัดออกให้หมด การตัดแต่งกิ่งควรทำก่อนที่จะหมดฝน ไม่ควรตัดแต่งกิ่งในหน้าแล้ง 
  4. ก่อนเข้าหน้าแล้ง ควรทำทางป้องกันไฟ 
  5. เมื่อสวนยางพาราเข้าสู่หน้าแล้ง ควรคลุมโคนต้นยางพาราด้วยฟางข้าวหรือเศษวัสดุทางการเกษตรที่หาง่ายในท้องถิ่น โดยเว้นระยะจากโคนต้นยางไว้ 5-10 ซม. หากสามารถราดหรือรดน้ำหมักชีวภาพผ่านวัสดุที่คลุมโคนด้วยก็จะเป็นการดีมาก ๆ
  6. ในพื้นที่ที่มีแสงแดดจัด เช่น ในเขตปลูกยางพาราใหม่ เมื่อสวนยางพาราเข้าหน้าแล้ง ให้ป้องกันเปลือกหรือลำต้นยางเป็นรอยไหม้จากการถูกแสงแดดเผา ด้วยการใช้ปูนขาว 1 ส่วน ผสมน้ำ 2 ส่วน แช่หรือหมักค้างคืนไว้ 1 คืน แล้วนำมาทาลำต้นยางตั้งแต่โคนต้น ไปจนถึงที่ความสูง 1.0-1.5 เมตร โดยทาเฉาะลำต้นส่วนที่เป็นสีน้ำตาล
  7. ปลูกพืชคลุมดิน ชนิดซีลูเรียม เพื่อเพิ่มธาตุไนโตรเจนในดินทำให้ยางเจริญเติบโตดี
  8.  ควรเริ่มเปิดกรีดยางเมื่อขนาดลำต้น50 เซ็นติเมตร ขึ้นไป โดยวัดที่ความสูง 150 เซ็นติเมตร จากพื้นดิน จำนวนต้นยางพาราที่ได้ขนาด70-  90% ของจำนวนต้นยางทั้งแปลง

23.6.54

วิธีปลูกยางภาคอีสาน

หลักการพิจารณาพื้นที่ปลูกยาง
ดินและภูมิอากาศเป็นปัจจัยหลัก โดยเฉพาะสภาพพื้นที่ ต้องเป็นพื้นที่ราบ แต่ถ้าเป็นพื้นที่ลาดชันก็ไม่ควรเกิน 35 องศาถ้าความลาดชันเกิน 15 องศา จำเป็นต้องทำขั้นบันไดเพื่อป้องกันต้นยางโค่นล้มได้ง่ายด้วยแรงลม พื้นที่ควรมีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 600 เมตร เพราะถ้าสูงเกิน จะทำให้การเจริญเติบโตลดลง นอกจากนี้ ควรมีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร มีการระบายน้ำดี ไม่มีชั้นหินหรือชั้นดินดาน ระดับน้ำใต้ดินควรต่ำกว่าระดับผิวดินมากกว่า 1 เมตร ดินเป็นดินร่วนเหนียวถึงดินร่วนทราย และมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ระหว่าง 4.5-5.5 นอกจากนี้ ควรมีปริมาณน้ำฝนเพียงพอไม่น้อยกว่า 1,250 มิลลิเมตร ต่อปี และมีจำนวนวันฝนตกไม่น้อยกว่า 120-150 วัน ต่อปี

พื้นที่ที่ไม่เหมาะสมปลูกยาง 
เช่น ในพื้นที่นาข้าว พื้นที่ลุ่มน้ำขัง พื้นที่ที่เป็นดินเค็ม ดินด่าง ดินปลวก และดินที่มีหินกรวดอัดแน่น หรือเป็นแผ่นหินแข็ง ทำให้ต้นแคระแกร็นไม่เจริญเติบโต ต้นเล็กไม่ได้ขนาดเปิดกรีดเมื่ออายุ 7 ปี ทำให้ได้ผลผลิตต่ำ นอกจากนี้ รากแขนงของต้นยางยังไม่สามารถใช้น้ำในฤดูแล้ง ยิ่งถ้าช่วงแล้งยาวนานก็จะทำให้ต้นยางตายจากยอดได้ง่าย
การแก้ไข 
เกษตรกรก็สามารถทำได้ด้วยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดิน เพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน ทำให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี และช่วยรักษาความชื้นในดิน การใช้วัสดุคลุมดินรอบโคนต้นยาง การใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางด้วยปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ก็จะทำให้ต้นยาง สมบูรณ์แข็งแรงยิ่งขึ้น หรือแม้กระทั่งการขุดคูระบายน้ำให้มีความลึกมากกว่า 2 เมตร จากระดับผิวดิน ในกรณีดินมีน้ำท่วมขัง การช่วยบำรุงต้นยางเพิ่มขึ้นโดยวิธีต่างๆ เหล่านี้ จะช่วยให้ต้นยางเจริญเติบโตได้ดี แต่มีค่าใช้จ่ายมากขึ้นด้วยเช่นกัน
การเตรียมพื้นที่ปลูกยางพารา
โดยการไถพลิกและไถพรวน อย่างน้อย 2 ครั้ง พร้อมเก็บตอไม้ เศษไม้ และเศษวัชพืชออกให้หมด เพื่อปรับสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมต่อการปลูกยางทั้งในด้านการปฏิบัติงานและการ อนุรักษ์ดินและน้ำ และเพื่อสะดวกในการเข้าไปดูแลบำรุงรักษา และเก็บเกี่ยวผลผลิตน้ำยาง
วางแนวปลูกต้นยางพารา
กำหนดแถว หลักของต้นยางโดยให้วางขวางทางการไหลของน้ำ เพื่อลดการชะล้างหน้าดินและการพังทลายของดิน ให้แถวหลักห่างจากเขตสวนเก่า ไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร พร้อมขุดคูตามแนวเขตสวน เพื่อป้องกันโรครากยางและการแย่งธาตุอาหาร จากนั้นวางแนวปลูกด้วยการปักไม้ชะมบตามระยะปลูก สำหรับพื้นที่ลาดเทมากกว่า 15 องศา ให้วางแนวปลูกตามแนวระดับและทำขั้นบันได ควรทำให้เสร็จสิ้นก่อนฤดูฝน (มีนาคม-ต้นเมษายน)
ระยะปลูกต้นยางพารา
ถ้า เป็นพื้นที่ราบในเขตปลูกยางเดิมภาคใต้ ใช้ระยะปลูก 2.5x 8 เมตร หรือ 3×7 เมตร จะปลูกยางได้ 80 ต้น หรือ 76 ต้น ต่อไร่ ตามลำดับ ส่วนพื้นที่ราบในเขตปลูกยางใหม่ ใช้ระยะปลูก 2.5×7 เมตร หรือ 3×6 เมตร หรือ 3×7 เมตร มีจำนวนต้นยาง 91 ต้น หรือ 88 ต้น หรือ 76 ต้น ต่อไร่
ขนาด ของหลุม ขุดหลุมให้มีขนาด 50x50x50 เซนติเมตร โดยขุดดินด้านใดด้านหนึ่งของไม้ชะมบไปในทางเดียวกัน ไม่ต้องถอนไม้ออก แยกดินส่วนบนและส่วนล่างไว้คนละกอง ผึ่งแดดประมาณ 1 สัปดาห์ พอดินแห้งย่อยดินให้ละเอียด นำดินส่วนบนใส่ก้นหลุม ส่วนดินชั้นล่างผสมกับปุ๋ยหินฟอสเฟต อัตรา 170 กรัม คลุกเคล้าร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ประมาณ 3-5 กิโลกรัม ต่อหลุม ใส่ด้านบน
การปลูกด้วยต้นยางชำถุง   เป็นวิธีที่ปลูกได้ผลสูงกว่า วิธีการปลูกด้วยต้นตอตา ยาง หรือติดตายางในแปลง เนื่องจากการปลูกยางในพื้นที่แหล่งใหม่มีปริมาณน้ำฝนและจำนวนวันฝนตกน้อย กว่าในเขตปลูกยางเดิมในภาคใต้ การปลูกด้วยต้นยางชำถุง ทำให้ต้นยางเจริญเติบโตสม่ำเสมอ ลดเวลาการดูแลรักษาต้นยางอ่อนให้สั้นลง ทำให้กรีดได้เร็วขึ้น เมื่อเลือกต้นยางชำถุงได้แล้ว ในกรณีที่มีการขนส่งควรระวังอย่าให้ดินในถุงแตกและให้หันลำต้นไปในทิศทาง เดียวกัน เพื่อป้องกันการกระทบกระแทกกัน หลังการขนส่งให้ตัดรากที่ม้วนเป็นก้อนอยู่ก้นถุงหรือที่ทะลุถุงออก นำมาวางเรียง 2-3 แถว ในแถวเดียวกัน โดยให้หันลำต้นไปในทางเดียวกัน เพื่อให้ต้นยางมีโอกาสพักปรับตัว ประมาณ 1 สัปดาห์ จึงย้ายลงปลูก โดยหันแผ่นตาไปทางทิศเหนือ-ใต้ ให้รอยต่อระหว่างรากกับตาอยู่ระดับปากหลุม จากนั้นใช้มีดเฉือนก้นถุงออก ประมาณ 2-3 เซนติเมตร นำไปวางในหลุมที่ขุดเตรียมไว้ จากนั้นใช้มีดกรีดข้างถุงให้ขาดออกจากกันทั้ง 2 ด้าน แต่อย่าเพิ่งดึงถุงออก เพราะจะทำให้ดินในถุงแตก จากนั้นจึงกลบดินประมาณครึ่งหลุม โดยนำดินชั้นบนใส่ก้นหลุม ส่วนดินชั้นล่างที่ผสมกับปุ๋ยหินฟอสเฟต อัตรา 170 กรัม คลุกเคล้าร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ประมาณ 3-5 กิโลกรัม ต่อหลุม ให้ใส่ไว้ด้านบน จากนั้นจึงดึงถุงออก กลบดินจนเสมอปากหลุม เหยียบดินรอบๆ ต้นยางให้แน่น โดยพูนดินโคนต้นยางให้สูงเล็กน้อยเพื่อป้องกันน้ำขังในหลุม เสร็จแล้วใช้เศษพืชคลุมบริเวณโคนต้นยางให้มีรัศมี 50-80 เซนติเมตร โดยให้ห่างจากต้นยาง 5-10 เซนติเมตร เพื่อรักษาความชื้นในดิน

17.6.54

RRIM600 กับ ยางclone ซีรีย์2000



  1. ท่านทราบหรือไม่ว่า RRIM600ต้นกำเนิดจากที่ใด?.......ประเทศมาเลเซีย อายุ 71 ปีแล้ว
  2. RRIM ย่อมาจาก?......Rubber Research Institute of Malaysia    สถาบันวิจัยยางของมาเลเซีย
  3. ทำไมพันธุ์ยางRRIM600ผลผลิตภาคใต้น้อยกว่า600ทีปลูกในอีสาน?.....ภาคใต้ฝนตกชุก จำนวนวันกรีดน้อย
  4. ทำไมบางคนเลือกปลูกยาง 600 ?..ขายไม้ได้ราคาดี  คำแนะนำจากนักวิชาการ ปลูกได้ทุกที่  ยางตายนึ่งน้อย  ทนการกรีดถี่  ราคาถูก  เกิดโรคใบร่วง ราแป้ง ออยเดียม ง่าย
  5. ทำไมเลือกปลูกยางซีรีย์2000, 3000?.... ผลผลิตสูง โตเร็ว กรีดได้เร็ว ผลตอบแทนเร็ว มีข้อมูลเชิงลึก คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป
  6. ยางซีรีย์2000 ?....RRIM2025 RRIM2027 RRIM3001 PB350 ยางมาเลย์ที่พัฒนาขึ้น คือให้น้ำยางมาก โตเร็ว ต้านทานโรคไฟท๊อปดี เปิดกรีดได้เร็ว
  7. ภาคอีสานปลูกRRIM600ได้ แล้วทำไมจึงปลูกRRIM2025 2027 3001 PB350 ไม่ได้ ซึ่้งพันธุุ์ยางทั้งหมดนี้เป็นสายพันธุ์พัฒนาที่มาเลย์ที่เดียวกัน
  8. ถูกต้องที่สภาพพื้นที่ ภูมิอากาศ  ภูมิประเทศที่มาเลย์กับภาคอีสาน ภาคเหนือ แตกต่างกัน แต่ก็มีเทคนิคในการดูแลรักษาให้เจริญเติบโตได้
  9. ทำไมต้องพัฒนาพันธุ์ยาง?....การปรับปรุงพันธุ์ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูง โตเร็ว ต้านทานโรคต่างๆได้ดีขึ้น ให้ผลตอบแทนเร็ว  ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายจากที่บำรุงรักษา7ปีกรีด ก็เหลือแค่ 4-5 ปีกรีดส่งผลให้เจ้าของสวนยางมีรายได้เพิ่มขึ้นและเร็วขึ้นด้วย
  10. สนใจสอบถามข้อมูลพันธุ์ยาง  จำหน่ายกล้ายางซีรีย์2000  ติดต่อ k.วิท 080-8740729 

11.6.54

ธาตุอาหารหลักยางพารา

  • ธาตุไนโตรเจน  เป็นธาตุที่สำคัญมากในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นยางพาราในระยะก่อนให้ผลผลิต และในระยะที่ต้นยางพาราให้ผลผลิตน้ำยางแล้ว ธาตุไนโตรเจนทำให้ผลผลิตน้ำยางเพิ่มมากขึ้น ธาตุไนโตรเจนจึงเป็นธาตุอาหารที่ต้นยางพาราต้องการตลอดชีวิต ปุ๋ยที่เหมาะสำหรับยางพาราจึงมักเป็นปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูง เช่น 20-8-20, 25-7-7 หรือ 29-5-18
  • ธาตุฟอสฟอรัส  จะทำให้ระบบรากของพืชและต้นยางพาราในระยะแรก ๆ แข็งแรงแพร่กระจายไปในดินอย่างกว้างขวาง ซึ่งก็จะทำให้สามารถดูดน้ำและธาตุอาหารพืชได้ดี สำหรับพืชอื่น  ธาตุฟอสฟอรัส จะช่วยในการออกดอกและติดผลดีขึ้น เร็วขึ้น
  • ธาตุโพแทสเซียม  มีความสำคัญในการสร้างและการเคลื่อนย้ายอาหารพวกแป้งและน้ำตาลไปเลี้ยงส่วนที่กำลังเติบโต และส่งไปเก็บไว้เป็นเสบียงที่หัวของพืชหรือที่ลำต้น สำหรับต้นยางพาราในระยะเปิดกรีดหรือระยะให้ผลผลิต ธาตุโพแทสเซียมทำให้ผลผลิตน้ำยางเพิ่มมากขึ้ ปุ๋ยที่เหมาะสำหรับต้นยางพาราระยะนี้ คือปุ๋ยที่มีธาตุโพแทสเซียมสูงด้วย เช่น 15-7-18 หรือ 29-5-18 

การใช้ปุ๋ยให้มีประสิทธิภาพ

เกษตรกรจะใช้ปุ๋ยให้ได้ผลดีที่สุดนั้น  จะต้องรู้สิ่งสำคัญ 3 ประการ คือ
     1. รู้จักดิน และพืชที่ปลูก
     2. รู้จักปุ๋ย
     3. รู้จักวิธีใช้ปุ๋ย

การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับเคมี คือวิธีที่ถูกต้อง
     การใช้ปุ๋ยปรับปรุงดินที่ถูกต้องนั้น  เกษตรกรควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ร่วมกับปุ๋ยเคมีให้เหมาะสม กล่าวคือ ควรใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มแร่ธาตุอาหารพืชในดินและใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับปรุงดินโปร่ง และร่วนซุย เพิ่มประสิทธิภาพให้พืชดูดกินธาตุอาหาร ควรใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ให้พอเหมาะพอดี

1.6.54

พันธุ์ยาง RRIM 2025

RRIM 2025. This hybrid shows the fastest growth rate among the different hybrids under trial in Cotabato. The overall growth of the clone is fast and is already suitable for tapping at 3.5 years after planting. The trunk is vigorous, short and with mean bole volume/tree of 0.63 m3 at 14 years old. The trunk is erect, rounded, slightly fluted, and light colored. It has a smooth bark, producing white latex. Seed production is also good.
At nursery stage, it gives above average budding success. The crown is dense, wide, low set, closed; balanced, and some are one-sided. The color of the foliage is dark to light green and it is slightly susceptible to Colletotrichum leaf disease. Its dry rubber yields during its first five years of tapping are 1,621 kg/ha, 2,421 kg/ha, 2,855 kg/ha, 3,506 kg/ha and 3,855 kg/ha, respectively.
แปล
    RRIM2025 ไฮบริด นี้แสดงอัตราการเติบโตเร็วที่สุดในหมู่ลูกผสม( hybrids) ด้วยกัน  ซึ่งเปรียบเทียบความแตกต่างกันภายใต้การทดลองใน โคตาบาตู( Cotabato)การเจริญเติบโตโดยรวมรวดเร็วมาก มีขนาดต้นกรีดได้ในเวลาเพียง 3.5 ปีลำต้นมีความแข็งแรง และมีค่าเนื้อไม้เฉลี่ย 30.63 (คิวบิกเมตร)/ต้น เมื่ออายุ 14 ปี ลำต้นตรง โค้งมนเล็กน้อย เปลือกสีอ่อน เรียบ น้ำยางสีขาว ให้เมล็ดดี ทรงพุ่มแน่นทึบ กว้าง  สมดุล และบางต้นมีทรงพุ่มด้านเดียว สีของใบสีเขียวเข้ม ต้านทานโรคใบ Colletotrichum ผลของน้ำหนักยางแห้งในระหว่าง ปีแรก  คือ259 กก./ไร่  ,387 กก./ไร่,  456กก./ไร่, 488กก./ไร่ และ 616 กก./"ไร่ตามลำดับ



ปริมาณน้ำยางพันธุ์clone

พันธุ์
ลูกผสมระหว่าง
ปีที่ตัด
เฉลี่ย/ปี
เฉลี่ยเนื้อไม้(อายุ)
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
PB 350
RRIM600xPB335
1192
2270
2374
3385
2755
3083
3578
-
-
-
2662
1.16
RRIM2025
IAN873xRRIM803
1921
2915
3174
2793
2967
-
-
-
-
-
2754
1.87(14)
RRIM2027

2381
2447
3349
3526
3477
-
-
-
-
-
3036
1.30(16)


หัวสวนพันธุ์ยาง
  080-8740729