24.11.54

แมลงศัตรูยางพารา

หนอนทราย
หนอนทราย (Cockchafers) เป็นตัวหนอนของด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่งซึ่งเป็นศัตรูกัดกินและทำลายรากต้นยางพารา ทำให้ต้นยางพาราตายเป็นหย่อมๆ 

ลักษณะและวงจรชีวิตของหนอนทราย

หนอนทราย
ตัวเมียวางไข่ในสวนยางพารา อาจเป็นฟองเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่มก้อน และฟักเป็นตัวหนอนในอีก 2-3 สัปดาห์ต่อมา ตัวหนอนมีสีขาว รูปร่างงอเหมือนตัว C ลำตัวยาว 3-5 ซม. อาศัยอยู่ในดิน กินอินทรียวัตถุและรากพืชเป็นอาหาร เมื่อเจริญเต็มที่แล้วจึงขุดดินเป็นโพรงลึกลงไปและสร้างผนังหนาห่อหุ้มตัวเพื่อเข้าดักแด้ ตัวเต็มวัยเป็นแมลงปีกแข็งขนาดใหญ่ ตัวอ้วนป้อมและสั้น ลำตัวยาว 3-5 ซม. กลางวันหลบซ่อนในดิน ออกบินหากินช่วงพลบค่ำ

การทำลายของหนอนทราย

กัดกินรากต้นยางพาราในระยะต้นยางเล็กอายุ 6-12 เดือน ทำให้ต้นยางพารามีอาการใบเหลือง และเหี่ยวแห้งตาย มักพบในสวนยางพาราที่ปลูกทดแทน ตัวหนอนจะอาศัยอยู่ที่รากของตอยางพาราเก่า และออกมากัดกินรากต้นยางอ่อน และพืชร่วม พืชแซมชนิดอื่นๆ ที่อยู่ในสวนยางพารา เช่น สับปะรด หวาย ลองกอง ทุเรียน มังคุด เนียงนก มะฮอกกานี รวมทั้งหญ้าคา ยังไม่พบความเสียหายในต้นยางพาราที่มีอายุมาก แต่พบว่าตอยางพาราเก่าที่อยู่ในสวนยางพาราจะเป็นแหล่งอาศัยและเป็นแหล่งอาหารของแมลงชนิดนี้เป็นอย่างดี

การระบาดของหนอนทราย

หนอนทรายมักระบาดในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม และจะระบาดมากในพื้นที่ปลูกยางพาราที่เป็นดินร่วนปนทราย 

การป้องกันกำจัดหนอนทราย

  1. ทำการดักจับเต็มวัยช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ด้วยกับดักแสงไฟหรือตาข่ายในช่วงพลบค่ำ จะช่วยลดปริมาณแมลงได้เป็นอย่างดี
  2. ควรปลูกตะไคร้ เพื่อล่อตัวหนอนทรายให้ออกมาแล้วนำไปทำลาย
  3. ใช้สารเคมีราดรอบโคนต้นยางพาราและตอยางพาราเก่า แล้วกลบดิน โดยสารเคมีที่ใช้ จะเป็นประเภท
    • คาร์โบซัลแฟน (carbosulfan) ที่พบและมีจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น พอสซ์ 20% EC  โดยใช้ 40-80 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ราดรอบ ๆ โคนต้นยางพาราที่ถูกหนอนทรายทำลาย และต้นข้างเคียง ต้นละ 1-2 ลิตร 
    • ฟิโปรนิล(fipronil) ที่พบและมีจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น แอสเซ็นต์ 5% SC   โดยใช้ 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ราดรอบ ๆ โคนต้นยางพาราที่ถูกหนอนทรายทำลาย และต้นข้างเคียง ต้นละ 1-2 ลิตร
หมายเหตุ: อ้างอิงข้อมูลจาก โรคและศัตรูยางพาราที่สำคัญในประเทศไทย, สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2549

เพลี้ยหอย

เพลี้ยหอย (Scale Insects) เพลี้ยหอยที่พบบนต้นยางมี 2 จำพวก คือ พวกที่ไม่มีเกราะหุ้มตัว และพวกที่มีเกราะหุ้มตัว เพลี้ยหอยทำลายโดยการดูดน้ำเลี้ยงตรงส่วนที่เป็นสีเขียว ทำให้ต้นยางชะงักการเจริญเติบโต มักพบในเรือนเพาะชำ หรือบนต้นยางอ่อน

เพลี้ยหอย-ยางพารา

ลักษณะและวงจรชีวิตของเพลี้ยหอย

ตัวอ่อนเมื่อเริ่มออกจากไข่จะมีขาและเคลื่อนที่ได้ แต่หลังจากลอกคราบแล้วขาจะหายไป เมื่อเริ่มเจาะดูดน้ำเลี้ยงแล้วจะไม่เคลื่อนไหว พร้อมสร้างเกราะหุ้มตัวเอง เพลี้ยหอยที่พบอยู่ตามกิ่งก้านของต้นยาง เป็นตัวเมียที่สร้างเกราะหนาไว้ป้องกันตัว และอยู่กับที่ตลอดไป เกราะจะมีขนาดประมาณ 3-5 มม. มีสีน้ำตาลแก่ ตัวผู้ไม่มีปากดูด และมีขนาดเล็กกว่าตัวเมียมาก มีปีกและบินได้

การทำลายของเพลี้ยหอย

ส่วนของกิ่งก้านที่ถูกเพลี้ยหอยดูดกินน้ำเลี้ยงจะเหี่ยวดำ และมีซากเพลี้ยหอยเกาะกิ่งก้านที่มันดูดกินน้ำเลี้ยง ต่อมากิ่งก้านนั้นจะแห้งตาย ถ้ามีเพลี้ยปริมาณมาก จะระบาดลุกลามไปทำอันตรายต่อส่วนลำต้น ใบยางและก้านใบ

การระบาดของเพลี้ยหอย

ช่วงอากาศแห้งแล้ง

การป้องกันกำจัดเพลี้ยหอย

  1. โดยธรรมชาติเพลี้ยหอยจะถูกศัตรูธรรมชาติ เช่น แมลง และเชื้อรา เข้าทำลายไข่ และตัวอ่อนของมัน
  2. ใช้สารเคมี เช่น
    • มาลาไทออน(malathion) ที่พบและมีจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น มาลาไธออน 83% EC โดยใช้ในอัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นบริเวณที่มีเพลี้ย 3-4 ครั้ง
    • ไวท์ออยล์ (White Oil) ที่พบและมีจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น ทานาแทค 67%  EC โดยใช้ในอัตรา 200 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเฉพาะที่พบการระบาด พ่นซ้ำตามความจำเป็น
หมายเหตุ: อ้างอิงข้อมูลจาก โรคและศัตรูยางพาราที่สำคัญในประเทศไทย, สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2549


คุณคิดอย่างไรกับพันธ์ยางโคลนนิ่งมาเลย์

2025อายุ 1ปีซ้าย กับ 600อายุ 3ปี

RRIM600  RRIM2001  RRIM2025  RRIM2027  RRIM3001  

PB311  PB350  

RRIT251  RRIT408

ปลูกพันธุ์ไหนดี น้ำยางดีแค่ไหน ต้นโตเป็นไง