23.8.54

ใบยางพันธุ์ต่างๆ


บทคัดย่องานวิจัย ยางพันธุ์ PB311


   การเปรียบเทียบพันธุ์ยางเอเค 247 เพื่อคัดเลือกพันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง เริ่มทำการทดลองเดือนสิงหาคม 2524 และสิ้นสุดการทดลองในเดือนเมษายน 2543 มีพันธุ์ยางทดสอบทั้งหมด 16 พันธุ์ ได้แก่ PB 217, PB 235, PB 255, PB 260, PB 310, PB 311, RRIM 803, KRS 25, KRS 33, KRS 48, KRS 156, RRIM 600(A), RRIM 600(B), RRIM 600(D) โดยมีพันธุ์ RRIM 600 และพันธุ์ GT 1 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ได้ทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยยางนราธิวาส อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block จำนวน 3 ซ้ำ ระยะปลูก 2.5 X 8 เมตร (60 ต้น/แปลงย่อย) พื้นที่ทำการทดลอง 40.5 ไร่ เปิดกรีดเมื่อเดือนพฤษภาคม 2533 มีต้นได้ขนาดเปิดกรีด 58.8 เปอร์เซ็นต์ของแปลง เปิดกรีดสูงจากพื้นดิน 150 ซ.ม. โดยใช้ระบบกรีดครึ่งลำต้นวันเว้นวัน
          ผลการศึกษา พบว่าพันธุ์ PB 311 ให้ผลผลิตเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการกรีด 11 ปีสูงสุด 415 กิโลกรัม/ไร่/ปี มีผลผลิต(กรัม/ต้น/ครั้งกรีด)สูง การเจริญเติบโตก่อนเปิดกรีดดี มีความต้านทานต่อโรคใบจุดก้างปลา โรคไฟทอฟโทราดี รองลงมาคือพันธุ์ PB255 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 378 กิโลกรัม/ไร่/ปี และ PB 260 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 350 กิโลกรัม/ไร่/ปี และเมื่อเปรียบเทียบการให้ผลผลิตระหว่างพันธุ์ PB 311 กับพันธุ์เปรียบเทียบ (RRIM 600 และ GT 1) พันธุ์ PB 311 ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 57' 148.7 เปอร์เซ็นต์ และสูงกว่าพันธุ์ GT 1 231.8 เปอร์เซ็นต์
          นอกจากนี้ยังพบว่า พันธุ์ที่เข้ามาจากต่างประเทศเกือบทุกพันธุ์ยกเว้นพันธุ์ PB 217 ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ RRIM 600 ส่วนพันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกพันธุ์จากการทดสอบพันธุ์ยางขั้นต้นเอเค 109 นั้นมีเพียง KRS 156 ให้ผลผลิตเฉลี่ยสุงกว่าพันธุ์ RRIM 600 (พันธุ์เปรียบเทียบ) และพันธุ์ที่ผ่านการฉายรังสีทุกพันธุ์ยกเว้นพันธุ์ RRIM 600(D) ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ RRIM 600 
การศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่า ในการเปรียบเทียบเทียบพันธุ์ยางเอเค 247 นั้นมียางหลายพันธุ์ที่มีผลผลิตสูงและลักษณะรองต่าง ๆ ดี ที่น่าจะนำไปพิจารณาประกอบคำแนะนำพันธุ์ยางแก่เกษตรกร

เหม่าะกับการปลูกพื้นที่เชิงเขา ที่สูง เพราะทรงพุ่มไม่ใหญ่ ต้านทานลมดี

6.8.54

การปลูกด้วยต้นยางชำถุง

          เป็นวิธีปลูกยางที่ประสบผลสำเร็จสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีอื่น ๆ ต้นเจริญเติบโตสม่ำเสมอ ลดช่วงระยะดูแลรักษาต้นยางอ่อนให้สั้นลงสามารถกรีดยางได้เร็วกว่าการปลูกด้วยต้นตอตาหรือติดตาในแปลง การนำต้นยางชำถุงมีอยู่ 2 วิธีคือ การใช้วิธีติดตาในถุง ทำโดยการปลูกต้นกล้ายางในถุงขนาด 8x10 นิ้ว เมื่อต้นกล้าอายุ 4-8 เดือน ก็ทำการติดตา อีกวิธีหนึ่งคือ การใช้ต้นตอตาเขียวมาปลูกในถุงขนาด 5x16 นิ้ว และ 4x15 นิ้ว ทั้ง 2 วิธีจะมีข้อที่แตกต่างกันคือ การชำถุงด้วยต้นตอตาเขียวจะใช้เวลาในการแตกฉัตรที่ 1,2 นานกว่าวิธีการติดตาในถุง นั่นคือการปลูกด้วยต้นตอตาเขียวจะใช้เวลาเติบโต 7 1/2-10 สัปดาห์ แต่การติดตาในถุงจะใช้เวลา 6-7 1/2 สัปดาห์เท่านั้น แต่ความเสียหายเมื่อย้ายไปปลูก ต้นยางชำถุงที่ปลูกด้วยวิธีติดตาในถุงจะเสียหายสูงกว่าการชำถุงด้วยต้นตอตาเขียว 5-6 เท่าตัว
สำหรับวิธีการปลูก ด้วยต้นยางชำถุงจะมีขั้นตอนและวิธีปฏิบัติดังนี้
            1. เตรียมต้นยางชำถุงโดยใช้ต้นตอตาเขียว เริ่มตั้งแต่การนำดินกรอกใส่ถุงขนาด 4x15 นิ้ว ใช้ดินร่วนผสมปุ๋ยหินฟอสเฟตอัตรา 7-10 กรัมต่อถุง แล้วนำอัดใส่ถุงให้แน่น ใช้ไม้ปลายแหลมปักลงกลางถุงให้เป็นรู ใช้ต้นตอตาปลูกให้ตาอยู่สูงจากดินในถุงประมาณ 2 นิ้ว อัดดินให้แน่นยกนำไปเรียงไว้ในที่ร่มรำไรระยะแถวกว้าง 10 ถุง และเมื่อตาแตกออกจึงจัดขยายเป็น 4 ถุงต่อความกว้างของแถง การบำรุงรักษาหลังตางอกแล้ว 2-3 สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยสูตร 1 ครั้งหนึ่ง และครั้งต่อไปทุก 2-4 สัปดาห์ ในอัตรา 5 กรัมต่อถุงจนกว่าต้นตาโต 1-2 ฉัตร มีใบแก่เต็มที่ (สังเกตยอดของฉัตรเริ่มผลิตยอดอ่อนเป็นปุ่มขึ้นมา) ก็พร้อมที่จะย้ายนำไปปลูกในแปลงได้
            2. การปลูก เริ่มตั้งแต่การเตรียมพื้นที่ การเตรียมหลุมปลูก ซึ่งจะเหมือนกันกับการปลูกด้วยต้นตอตา ส่วนวิธีการปลูกใช้มีดคม ๆ กรีดเอาก้นถุงออก กรณีที่มีราม้วนอยู่ก้นถุงให้ตัดออกด้วย นำถุงหย่อนลงไปในหลุม แล้วใช้มีดกรีดถุงอีกครั้ง จากก้นจนถึงปากถุงทั้ง 2 ข้าง นำดินกลบพอหลวมแล้วดึงเอาถุงพลาสติกออก กลบดินเพิ่มและกดให้แน่นจนได้ระดับบริเวณโคนต้นสูงระดับเดียวกับที่ปลูกในถุง ส่วนการดูแลรักษาโดยเฉพาะการใส่ปุ๋ย ชนิดของปุ๋ยและปริมาณที่ใส่ก็จะกระทำเหมือนกันกับการปลูกด้วยต้นตอตา 

credit by

©ข้อมูลจาก®
พืชไร่เศรษฐกิจ. ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กรมวิชาการเกษตร (http://www.doa.go.th)