31.5.54

ระยะการปลูกยาง

1. พื้นที่ราบ
ถ้าต้องการปลูกพืชแซมในระหว่างแถวของต้นยาง
- ในภาคใต้และภาคตะวันออกให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 2.50 เมตร ระหว่างแถว 8 เมตร จะได้จำนวน 80 ต้นต่อไร่
- ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 2.50 เมตร ระหว่างแถว 7 เมตร จะได้จำนวน 91 ต้นต่อไร่
"ถ้าต้องการปลูกพืชคลุมดินในระหว่างแถวของต้นยาง
- ในภาคใต้และภาคตะวันออกให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 2.50 เมตร ระหว่างแถว 7 เมตร จะได้จำนวน 91 ต้นต่อไร่
- ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 3 เมตร ระหว่างแถว 6 เมตร จะได้จำนวน 88 ต้นต่อไร่
2. พื้นที่ลาดหรือพื้นที่เชิงเขา
ตั้งแต่ความชัน 15 องศาขึ้นไปต้องทำแนวขั้นบันไดโดยใช้ระยะระหว่างขั้นบันไดอย่างน้อย 8 เมตร ระยะระหว่างต้น 2.50 หรือ 3 เมตร เมื่อกำหนดระยะปลูกได้แล้วก็ทำการวางแนวและปักไม้ทำแนวเพื่อขุดหลุมปลูกต่อไป แนวปลูกควรวางตามทิศทางลม
วิธีปลูก การปลูกยางพาราจะแตกต่างกันไปตามชนิดของต้นพันธุ์ยางซึ่งในที่นี้จะกล่าวเฉพาะการปลูกด้วยต้น ตอตาและต้นยางชำถุงเท่านั้น เนื่องจากการปลูกด้วยเมล็ดแล้วติดตาในแปลงมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษามาก จึงไม่ค่อยมีผู้นิยมทำกันในปัจจุบัน
1. การปลูกด้วยต้นตอตา นำดินบนที่ผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟตเรียบร้อยแล้วใส่รองก้นหลุมแล้วกลบหลุมให้เต็มด้วยดินล่าง จากนั้นใช้เหล็กหรือไม้แหลมขนาดเล็กกว่าต้นตอตาเล็กน้อย ปักนำเป็นรูตรงกลางหลุมให้ลึกเท่ากับ ความยาวของรากแก้ว แล้วนำต้นตอปักลงไป กดดินให้แน่น พูนดินบริเวณโคนต้นเล็กน้อยอย่าให้กลบแผ่นตา พยายามให้รอยต่อระหว่างรากกับลำต้นอยู่ระดับปากหลุมพอดี
2. การปลูกด้วยต้นยางชำถุง
2.1 วิธีปลูกยางในภาคตะวันออกและภาคใต้ นำดินที่ผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟตเรียบร้อยแล้วใส่รองก้นหลุม จากนั้นนำต้นยางชำถุงไปตัดดินที่ก้นถุงออกประมาณ 1 นิ้ว เพื่อตัดปลายรากที่คดงอแล้ววางลงไปในหลุม โดยให้ดินปากถุงหรือรอยต่อระหว่างลำต้นและรากอยู่ในระดับพื้นดินปากหลุมพอดี ถ้าต่ำเกินไปให้ใส่ดินรองก้นหลุมเพิ่ม หรือถ้าสูงเกินไปให้เอาดินในหลุมออก จัดต้นยางให้ตรงกับแนวต้นอื่น ใช้มีดกรีดด้านข้างถุงพลาสติกจากก้นถุงถึงปากถุงให้ขาดจากกัน กลบดินล่างที่เหลือลงไปจนเกือบเต็มหลุม อย่างเพิ่งกดแน่น ค่อยๆดึงถุงพลาสติกที่กรีดไว้แล้วออกอัดดินข้างถุงให้แน่น แล้วกลบดินเพิ่มจนเต็มหลุม อัดให้แน่นอีกครั้ง พูนโคนเล็กน้อยเพื่อป้องกันน้ำขัง จากนั้นปักไม้หลักและใช้เชือกผูกยึดต้นยางไว้เพื่อป้องกันลมโยก
2.2 วิธีปลูกยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้ปลูกแบบลึก โดยใช้มีดคมๆ ตัดดินก้นถุงออกประมาณ 1 นิ้ว เพื่อตัดปลายรากที่คดงอจากนั้นวางยางชำถุงลงในหลุมปลูกให้ถุงแนบชิดกับดินเดิมก้นหลุมจัดต ให้ตรงแนวกับต้นอื่น ใช้มีดกรีดด้านข้างถุงพลาสติกจากก้นถุงถึงปากถุงให้ขาดจากกัน กลบดินบนที่ผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟตแล้วลงในหลุมประมาณครึ่งหนึ่งของถุง อย่างเพิ่งกดแน่น ค่อยๆ ดังถุงพลาสติกที่กรีดไว้ออก อัดดินที่ถมข้างถุงให้แน่นแล้วกลบดินเพิ่มให้เต็มหลุม อัดให้แน่นอีกครั้ง หลังจากปลูกต้นยางชำถุงเสร็จแล้ว ควรปักไม้หลักและใช้เชือกผูกยึดต้นยางเพื่อป้องกันลมโยกและหาเศษวัชพืชคลุมดินบริเวณโคนต้นไว้ด้วย

สภาพแวดล้อมต่อการปลูกยาง


ลักษณะพื้นที่ที่เหมาะสม
  1. เป็นพื้นที่ราบ มีความลาดชันไม่เกิน 35 องศา หากปลูกในพื้นที่ที่มีความลาดชันเกินกว่า  15 องศา ต้องทำขั้นบันได
  2. หน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร เป็นดินร่วนเหนียวหรือร่วนทราย ไม่มีชั้นหิน ชั้นดินดานหรือชั้นกรวดอัดแน่นในระดับสูงกว่า 1 เมตร จากพื้นดิน
  3. การระบายน้ำดี ระดับน้ำใต้ดินต่ำกว่าระดับผิวดินมากกว่า 1 เมตรไม่เป็นที่ลุ่มน้ำขังหรือพื้นที่นา
  4. พื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 200 เมตร หากปลูกยางในพื้นที่ที่มีความสูงเกินกว่านี้จะทำให้การเจริญเติบโตช้า
  5. ค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน(pH) ที่เหมาะสม ระหว่าง 4.5-5.5 ไม่ควรเป็นดินด่าง  ดินเค็ม หรือดินเกลือ

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

1.    ปริมาณน้ำฝนไม่ต่ำกว่า 1,250 มิลลิเมตรต่อปี การกระจายตัวของฝนดี มีจำนวนวันฝนตก 120-150 วัน ช่วงแล้งไม่เกิน 4 เดือน
2.    อุณหภูมิเหมาะสม ระหว่าง 26-30 องศาเซลเซียส

พันธุ์ยาง RRIM 600


พันธุ์ยางRRIM 600
แม่ X พ่อTjir 1x PB 86
แหล่งกำเนิดมาเลเซีย
ผลผลิตผลผลิตสูงมากทั้งในระยะ 2 ปีแรก และปีกรีดต่อๆมา ใน ช่วงผลัดใบ ผลผลิตจะลดลง เพียงเล็กน้อย แต่ใน แหล่งปลูกยางใหม่ ผลผลิต จะลดลงมาก
การเจริญเติบโตระยะก่อนเปิดกรีดมีการเจริญเติบโตปานกลาง ในระยะ ระหว่างกรีด มีการเจริญเติบโตดี ทรงพุ่มมีขนาดใหญ่
ความหนาของเปลือกเปลือกเดิมบาง เปลือกงอกใหม่หนา
รอยแผลกรีดถ้ากรีดลึกเป็นบาดแผลถึงเนื้อไม้ เปลือกงอกใหม่ จะเสียหายรุนแรงมาก
ความต้านทานโรค 
โรคใบร่วงไฟทอปโทราอ่อนแอมาก
โรคใบจุดออยเดียมปานกลาง
โรคใบจุดคอลเทโทตริกัมปานกลาง
โรคเส้นดำอ่อนแอมาก
โรคราสีชมพูอ่อนแอมาก
โรคเปลือกแห้งดี มีจำนวนต้นเปลือกแห้งน้อย
ความต้านทานลมปานกลาง
พื้นที่ปลูกปลูกได้ในพื้นที่ลาดชัน ไม่ควรปลูกในพื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น และ พื้นที่ ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง
ข้อแนะนำ/ข้อสังเกตสำหรับการปลูกยางพันธุ์นี้ทางฝั่งตะวันตกของภาคใต้ และ บริเวณชายแดน ของภาคตะวันออก ในบางปี ที่มี โรคใบร่วงไฟทอปโทรา ระบาดรุนแรง ผลผลิต จะลดลงมาก


RRIM 600 - ผลผลิตเฉลี่ย 289 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ผลผลิตเพิ่มขึ้นปานกลางเมื่อใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง ผลผลิตลดลงมากในช่วงผลัดใบในพื้นที่แห้งแล้ง
- การเจริญเติบโตปานกลาง เปลือกเดิมบาง และเปลือกงอกใหม่หนาปานกลาง
- ควรใช้ระบบกรีดครึ่งลำต้น วันเว้นวัน
- ต้านทานโรคราแป้งและโรคใบจุดนูนปานกลางอ่อนแอต่อโรคราสีชมพู อ่อนแอมากต่อโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื่อไฟทอปโทราและโรคเส้นดำ มีต้นเปลือกแห้งจำนวนน้อย ต้านทานลมปานกลาง
- ปลูกได้ในพื้นที่ลาดชันไม่แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น และพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง
- ข้อสังเกต : ไม่ควรปลูกในพื้นที่ที่มีโรคใบร่วงไฟทอบโทราและโรคเส้นดำระบาดอย่างรุนแรง

พันธุ์ยาง RRIT 251

คุณสมบัติลักษณะเด่น RRIT251
          
1.  ผลผลิตเนื้อยางแห้งสูงมาก
               1.1  RRIT 251 ให้ผลผลิตเนื้อยอย่างแห้งเฉลี่ย 9 ปีกรีด  467.2 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี  สูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 ซึ่งให้ผลผลิต218.1 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี คิดเป็นร้อยละ 59.4
               1.2  RRIT 251   ให้ผลผลิตเนื้อยางแห้ง เฉลี่ย 10 ปีกรีด    474.3 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี  สูงกว่าพันธุ์ GT 1    ซึ่งให้ผลผลิต 218.1 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี  คิดเป็นร้อยละ 117.4
          2.  การเจริญเติบโต  ระยะก่อนเปิดกรีดดี  RRIT 251   เมื่ออายุ 7 ปี    มีขนาดลำต้นเฉลี่ย 51.6 เซนติเมตร    ขนาดใหญ่กว่าพันธุ์RRIM 600 ที่มีขนาดลำต้นเฉลี่ย 74.2 เซนติเมตร  และใกล้เคียงกับพันธุ์ GT 1 ที่มีขนาดลำต้นเฉลี่ย 50.1 เซนติเมตร
          3.  จำนวนต้นเปิดกรีดมาก RRIT 251  มีขนาดลำต้นสม่ำเสมอดีมาก    จึงมีจำนวนต้นเปิดกรีดมากคิดเป็นร้อยละ 78.0 ของแปลงมากกว่าพันธุ์ RRIM 600 และ GT 1 ร้อยละ 66.3 และ 13.2 ตามลำดับ
          4.  ความหนาเปลือก  และจำนวนท่อน้ำยางมาก RRIT 251    เมื่ออายุ 9 ปี   มีความหนาเปลือกเฉลี่ย 5.8 มิลลิเมตร  หนากว่าพันธุ์RRIM 600  และ GT 1 ร้อยละ 13.7   และ 1.7 ตามลำดับ และเมื่ออายุ 20 ปี    ความหนาเปลือกเพิ่มเป็น 9.8 มิลลิเมตร   หนากว่าพันธุ์RRIM 600  และ GT 1 ถึงร้อยละ 15.2 และ 11.3 ตามลำดับ
          5.  จำนวนท่อน้ำยางมาก RRIT 251 เมื่ออายุ 9 ปี  มีจำนวนวงท่อน้ำยาง 10.5 วง มากกว่า พันธุ์ RRIM 600 และ GT 1 ร้อยละ23.5 และ 10.5 ตามลำดับ  และ เมื่ออายุ 20 ปี มีจำนวนวงท่อน้ำยาง 39.4 วง มากกว่าพันธุ์ RRIM 600  และ GT 1 ร้อยละ 23.1 และ 86.7 ตามลำดับ       
   6.  ต้านทานโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา  ออยเตียม และคอลเลโทตริกัม  ดีกว่าพันธุ์ RRIM 600 และ GT 1
ข้อแนะนำ
           - พันธุ์ RRIT1 251   มีขนาดทรงพุ่มใหญ่  และการแตกกิ่งไม่สมดุล ปลูกได้พื้นที่ราบทั่วไป ที่ราบลุ่ม ไม่แนะนำปลูกพื้นที่ลาดชัน 30 องศาขึ้นไป
          - ระยะการปลูก 3.5x6 , 4x5 , 3x7   เมตร
          - ควรปลูกใกล้แหล่งน้ำ ลำธาร คลอง หนอง บึง
          - แบ่งหน้ากรีดครึ่งลำต้น  กรีดวันเว้นวัน
          - การบำรุงรักษาใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 30-5-18 หรือ 25-7-18 หรือสูตรใกล้เคียง  แบ่งใส่ต้นละ 500กรัม 3ครั้ง/ปี  สลับการใส่ปุ๋ยหมัก หรืออินทรีย์ชีวภาพ 3 กิโลกรัม/ต้น/ปี





แปลงกิ่งตาRRIT251


ลักษณะใบยางRRIT251


ต้นนี้ 12 ปี  ใช้จอกยางขนาด 1.5L ยังล้นอีก


ข้อควรระวัง

ตอนนี้ราคากล้ายางมีราคาแพงสำหรับผู้ซื้อกล้ายางควระวัง

1. ยางตาเขียวตาสอย โดยการเอายางตาแก่จากต้นยางตามสวนยางทั่วไป มาติดตาทำให้ปลูกแล้วกรีดได้น้ำยางออกน้อยและโตช้า  ให้สังเกตเมื่อยางอายุสองปีจะออกลูกผิวลำต้นขาวโดยทั่วไปยางอายุสองปีผิวลำต้นจะสีน้ำตาล

2. ตาบนติดตาล่าง  คือ การเอากิ่งตาจากต้นเดียวกันมาติดตา จะทำให้ได้ยางพาราคือเมื่อโตลำต้นโคนใหญ่ปลายเล็ก ให้น้ำยางน้อย

3.ยางตาเขียวตาลม  โดยปกติกิ่งพันธ์ตายางในแต่ละกิ่งจะมีกื่งที่ใช้ได้ 3-5 ตาต่อกิ่ง ที่เหลือตาไม่ได้ขนาดเมื่อติดตาแล้วจะไม่แตกยอด  ข้อสังเกตุ ตาจะเล็กกว่าก้านไม้ขีด ทำให้ผู้ติดตาได้มากแต่ยางตาเขียวที่เป็นตาลม จะไม่แตกยอดที่ตาพันธุ์

เทียบปริมาณน้ำยาง

เปรียบเทียบปริมาณน้ำยางแต่ละสายพันธุ์ที่น่าปลูก

พันธุ์ยาง
น้ำยางกก. /ไร/ปี

   RRIT 251
   RRIT 408
  RRIT266           
457
352
346

                                                                     
PB 350
   RRIM 600
436
289

   RRIM2025
451

   RRIM2027
497

   RRIM3001
512


เทียบปริมาณน้ำยางสายพันธุ์มาเลย์


RUBBER BUDDED SEEDLING

Rubber Seedlings are available for sales with all the following clones,

The following available clones and other clones can be arranged on request.

RRIM 3001 (1 Malaysia)
RRIM 2027
RRIM 2025
RRIM 928
RRIM 929
PB 350

All the available clones are verified and approved by LGM(Lembaga Getah Malaysia).
แปล

ต้นกล้ายาง โคลนนิ่งที่สามารถปลูกได้ดีต่อไปนี้และโคลนอื่น ๆ สามารถจัดตามลำดับดังนี้

  1. RRIM 3001 (1 มาเลเซีย)
  2.  RRIM 2027
  3.  RRIM 2025
  4.  RRIM 928
  5.  RRIM 929
  6.  PB 350

ทั้งหมดที่โคลนที่มีอยู่ตรวจสอบและอนุมัติโดย LGM (Lembaga Getah มาเลเซีย)